วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

บ้านสามขา : บทเรี ยนความส� ำเร็ จของการพั ฒนาที่ ไม่ต้องอาศั ยทฤษฎี 248 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ที่ตั้งบ้านสามขาเดิมมีชื่อเรียกว่า “บ้านแม่หยวก” เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกล้วยป่า ซึ่งมีชาวบ้านเข้าไปตั้งถิ่นฐานเป็นเวลากว่า ๑๕๐ ปี มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่าชาวบ้านจากบ้านเหล่า หนองปล้องในเมืองล� ำปางซึ่งมีความยากจนได้พากันออกล่าสัตว์มาทางบ้านแม่หยวกซึ่งมีลักษณะเป็น ป่าทึบและมีสัตว์ชุกชุม เวลาผ่านไปแทนที่จะเป็นการเดินทางเข้า-ออกเพื่อการล่าสัตว์ พรานชาวบ้านเหล่านี้ ได้เริ่มตั้งหลักแหล่งด้วยการปลูกกระท่อมอยู่อาศัย จากนั้นก็มีคนเคลื่อนย้ายเข้ามาสมทบและอยู่อาศัย เพิ่มมากขึ้น ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติส่งผลให้ชาวบ้านเหล่านี้เริ่มตั้งบ้านเรือน เป็นการถาวร เริ่มจากจ� ำนวนครัวเรือนราว ๒๐-๓๐ ครัวเรือน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๐ ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๘) บ้านสามขามีครัวเรือนรวมกันทั้งสิ้น ๑๕๔ ครัวเรือน และมีประชากรรวม ๖๗๐ คน การเรียกชื่อหมู่บ้านจากเดิมคือบ้านแม่หยวกมาเป็น “บ้านสามขา” ในปัจจุบัน เกิดขึ้นตามต� ำนาน ที่เล่าขานสืบต่อกันมา ตามต� ำนานเล่าว่ามีพรานชาวบ้านคนหนึ่งออกไปล่าสัตว์ได้พบและฆ่าเก้งตัวหนึ่ง ด้วยความที่เก้งมีขนาดใหญ่มากท� ำให้พรานไม่สามารถน� ำเก้งทั้งตัวกลับบ้านได้ ได้ตัดเอาเฉพาะขาหลัง เพียงขาเดียวกลับไปเป็นอาหาร โดยตั้งใจว่าจะขอแรงชาวบ้านไปช่วยกันน� ำเก้งส่วนที่เหลือในวันรุ่งขึ้น ครั้นเมื่อต้องน� ำชาวบ้านออกไปกลับปรากฏว่าเก้งส่วนที่เหลือได้อันตรธานหายไป พบอีกทีก็เมื่อเก้งถูกงู ใหญ่ลากไปกินในถ�้ ำซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของบ้านแม่หยวก คงเป็นเพราะโทสจริต ท� ำให้ชาวบ้านช่วย กันจับและฆ่างูเอาเนื้อมาเป็นอาหารและด้วยอาเพศที่เก้งและงูถูกฆ่าตายท� ำให้เกิดพิบัติภัยขึ้นกับชุมชน และชาวบ้าน จากบ้านแม่หยวกซึ่งครั้งหนึ่งเคยเต็มไปด้วยต้นกล้วยป่า พิบัติภัยธรรมชาติท� ำให้ต้นกล้วย ถูกท� ำลายจนหมดสิ้น ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่โดยเรียกขานกันจนถึงปัจจุบันว่า “บ้านสามขา” (www.baansamkha.wordpress.com) บริบทของชุมชน พิจารณาในเชิงกายภาพบ้านสามขามีที่ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างภูเขา มีสภาพเป็นป่าผสมที่ อุดมสมบูรณ์ ป่าไม้ที่ปรากฏบนภูเขาถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมากต่อชุมชนบ้าน สามขา เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งต้นน�้ ำที่ส� ำคัญส� ำหรับการบริโภคและอุปโภคแล้ว ยังเป็นปัจจัยส� ำคัญ ในการเพาะปลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท� ำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน นอกเหนือจากนี้ พื้นที่ป่าไม้ ดังกล่าวยังเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ของชาวบ้านในชุมชนจากการเก็บและการขายของป่า พื้นที่ของบ้านสามขาทั้งหมด ๑๖,๒๙๑ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ต้นน�้ ำ ๑๒,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ส� ำหรับ การอยู่อาศัยและเป็นพื้นที่ส� ำหรับการท� ำมาหากิน และเป็นที่สาธารณประโยชน์จ� ำนวน ๔,๒๙๑ ไร่ (เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี, ๒๕๕๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=