วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

247 ศาสตราจารย์ ดร.มนั ส สุวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เจ้าของปัญหาและเป็นเจ้าของพื้นที่กลับได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมน้อยมาก ที่ส� ำคัญด้วยเช่นกันคือ การแก้ปัญหาความยากจนที่เน้น “การให้” มากกว่าการสอนให้รู้จัก “วิธีการหา” ท� ำให้คนยากคนจน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืน ถามว่าองค์กรที่ใหญ่ที่สุดและมีอ� ำนาจมากที่สุดในการบริหารประเทศคือ รัฐบาลยังไม่สามารถ แก้ปัญหาความยากจนของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ แล้วจะมีองค์กรหรือหน่วยงานใดที่จะสามารถ ท� ำได้ ล� ำพังจะให้จังหวัดและอ� ำเภอซึ่งเป็นองค์กรบริหารราชการส่วนภูมิภาคและดูจะมีความใกล้ชิดกับ ชุมชนมากกว่ากระทรวง ทบวง และกรม ซึ่งเป็นองค์กรบริหารราชการส่วนกลางด� ำเนินการ แต่บทบาท ในปัจจุบันของจังหวัดและอ� ำเภอจะเน้นไปที่การท� ำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานมากกว่าเป็นผู้ปฏิบัติ ใน ส่วนของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนต� ำบล (อบต.) แม้จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชุมชนโดยตรง แต่การบริหารราชการก็ยังติดขัดในเรื่องของระเบียบ กฎเกณฑ์ และขั้นตอน จนหลายครั้งหลายกรณีการแก้ ปัญหาหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งปัญหาความยากจนของประชาชนเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเป็นดั่งนี้ ผู้เขียนมีความคิดว่าไม่ต้องพึ่งพาส่วนราชการแต่เปิดโอกาสให้ชุมชนบริหารจัดการและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของ เขาเองน่าจะดีกว่า องค์การและหน่วยงานจากภายนอกขอให้ท� ำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยงหรือผู้สนับสนุนก็พอ จากบริบทการพัฒนาประเทศและการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในชาติดังที่กล่าวแล้ว โดยย่อข้างต้น ผู้เขียนได้ไตร่ตรองแล้วเห็นว่าประสบการณ์ที่ได้ประจักษ์และสัมผัสจริงในภาคสนามเกือบ ๒๐ ปี กรณีชุมชนบ้านสามขาซึ่งเป็นชุมชนที่สามารถบริหารจัดการและแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของชุมชนได้ เองอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกในชุมชนสามารถด� ำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขตามอัตภาพตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง น่าจะถูกน� ำมาถอดเป็นบทเรียนและเป็นต้นแบบในการสร้างความเข้มแข็งให้กับ ชุมชนในพื้นที่อื่นได้ มิได้หวังไปไกลถึงขนาดที่ว่าผู้รับผิดชอบการพัฒนาประเทศต้องน� ำไปพิจารณาอย่าง จริงจัง อย่างน้อยก็ขอให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาส� ำคัญของประเทศเสริมเข้ากับแนวทาง อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว บ้านสามขา ที่ตั้งและความเป็นมา บ้านสามขา ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ต� ำบลหัวเสือ อ� ำเภอแม่ทะ จังหวัดล� ำปาง อยู่ห่างจากตัว เมืองล� ำปางไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว ๔๕ กิโลเมตร สภาพพื้นที่ของบ้านสามขามีลักษณะเป็น ที่ราบระหว่างภูเขา มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน น�้ ำ และป่าไม้ ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพหลัก คือการท� ำนา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=