วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

บ้านสามขา : บทเรี ยนความส� ำเร็ จของการพั ฒนาที่ ไม่ต้องอาศั ยทฤษฎี 246 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ความเหลื่อมล�้ ำ ( www.pcd.go.th) ถึงกระนั้นก็ตาม การแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในประเทศ ก็ยังจัดได้ว่าไม่ประสบผลส� ำเร็จเท่าที่ควร ยิ่งมีการพัฒนาและมีการแก้ปัญหาเหล่านี้มากเท่าไร ยิ่งดูเหมือน ว่าคนรวยกลับรวยขึ้นแต่คนจนกลับยิ่งจนลง มีเหตุปัจจัยหลายประการที่ท� ำให้เชื่อว่าน่าจะมีอิทธิพล ต่อปัญหาความยากจนของประชาชนและต่อความล้มเหลวในการแก้ปัญหา ในขณะที่โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัฎ์ (๒๕๓๓) อดีตเลขาธิการส� ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เชื่อว่า ที่การแก้ปัญหาความยากจนของทุกรัฐบาลไม่ประสบความส� ำเร็จเป็นเพราะรัฐบาลเองไม่เข้าใจสาเหตุ ที่แท้จริงของความยากจน และที่ส� ำคัญเช่นกันคือ การที่รัฐบาลมองว่าความยากจนที่เกิดขึ้นกับคนใน ชนบทเปรียบเสมือนเป็นส่วนเกินของสังคมที่ไม่จ� ำเป็นต้องให้ความส� ำคัญ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ (๒๕๔๖) ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการ สศช. เช่นกันได้แสดงความเห็นเสริมว่า ความยากจนของประชาชนในชาติเกิดจาก การที่คนไทยส่วนใหญ่ยังมีระดับการศึกษาค่อนข้างต�่ ำประการหนึ่ง และการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมอีกประการหนึ่ง ธรรมรักษ์อรรถาธิบายว่า การที่คนมีการศึกษาน้อย โอกาสที่จะได้งานดี ๆ ท� ำ ย่อมมีน้อย และรายได้ก็พลอยน้อยตามไปด้วย กรณีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งเน้นการแข่งขัน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างไม่จ� ำกัด เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา คนที่จะชนะและกอบโกยได้มากที่สุดของระบบเศรษฐกิจแบบนี้คือนายทุนหรือคนรวย คนยากคนจนยัง ต้องเป็นคนยากคนจนต่อไปเหมือนเดิม ความคิดเห็นในท� ำนองคล้ายกันกับที่กล่าวแล้วข้างต้น ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (๒๕๔๑) ได้วิเคราะห์ ให้เห็นว่าปัญหาความยากจนของประชาชนในชาติเกิดจากความอ่อนด้อยของประเทศ ๕ ด้าน คือ ความอ่อนด้อยทางเศรษฐกิจ ความอ่อนด้อยทางการเมือง ความอ่อนด้อยของระบบราชการ ความอ่อนด้อย ของระบบการศึกษา และความอ่อนด้อยทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้ ไพบูลย์เชื่อว่าความอ่อนด้อยทาง สังคม-วัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นค่านิยมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไปคือ เหตุปัจจัยที่ส� ำคัญ ที่สุดของความยากจนในสังคมไทย คนไทยในปัจจุบันเน้นวัตถุนิยม ชอบความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ชอบความ ร�่ ำรวยและนิยมชมชอบคนรวยมากกว่าคนดี ไม่เห็นความส� ำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงและ ความสุขตามอัตภาพ ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันนี้ มนัส สุวรรณ (๒๕๕๔) ในบทความเรื่อง “ชนบทกับ ปัญหาความยากจน : มุมมองเชิงมนุษยนิเวศวิทยา” มองว่าความล้มเหลวในการแก้ปัญหาความยากจน ของประชาชนในประเทศเกิดจากความผิดพลาดใน ๒ กรณี คือ (๑) ความผิดพลาดในทางทฤษฎี หมายถึง การยึดติดกับแนวคิดและทฤษฎีมากเกินไป เชื่อว่ารูปแบบการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาที่ประสบความ ส� ำเร็จในพื้นที่หนึ่งจะสามารถน� ำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่อื่นได้ด้วย และ (๒) ความผิดพลาดในทางปฏิบัติ กล่าวคือ การแก้ปัญหาโดยการวางแผนและใช้บุคลากรจากส่วนกลาง โดยที่ประชาชนในท้องถิ่นซึ่งเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=