วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ บ้านสามขา : บทเรียนความส� ำเร็จของการพัฒนา ที่ไม่ต้องอาศัยทฤษฎี ศาสตราจารย์ ดร.มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความอยู่ดี และกินดีเท่าที่ผ่านมาของทุกรัฐบาลดูจะไม่ค่อยประสบผลส� ำเร็จเท่าที่ควร ยิ่งพัฒนายิ่งท� ำให้คนรวยรวย ขึ้นแต่คนจนกลับจนลง วิเคราะห์ได้ว่าความไม่ส� ำเร็จดังกล่าวเป็นเพราะรัฐบาลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่เข้าใจสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริงประการหนึ่ง และการยึดติดกับหลักการการก� ำหนดนโยบายจาก ส่วนกลางมากเกินไปอีกประการหนึ่ง บทความนี้เป็นความพยายามในการถอดบทเรียนแห่งความส� ำเร็จ ของการพัฒนาที่ไม่จ� ำเป็นต้องอาศัยหลักการและทฤษฎีกรณีของบ้านสามขา อ� ำเภอแม่ทะ จังหวัดล� ำปาง เป้าประสงค์ส� ำคัญของความพยายามคือความต้องการให้บทเรียนนี้เป็นต้นแบบส� ำหรับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐจักได้น� ำไปพิจารณา และตัดสินใจใช้เป็นทางเลือกในการพัฒนาเพื่อให้ประชาชน มีความอยู่ดีและกินดีมากขึ้น ค� ำส� ำคัญ : บ้านสามขา, บทเรียนแห่งความส� ำเร็จ, ส� ำนึกผู้น� ำ ความน� ำ เป็นที่น่าสังเกตว่าการพัฒนาประเทศโดยรัฐบาลที่ผ่านมาทุกยุคทุกสมัยมีเป้าหมายที่ค่อนข้าง หลากหลาย ยิ่งไปกว่านี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตต่อไปอีกว่าเป้าหมายส� ำคัญอย่างหนึ่งที่ทุกรัฐบาลมุ่งเน้นเหมือนกัน คือ การแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน ในยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ซึ่งได้ใช้เป็น กรอบในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลฉบับปัจจุบันก็ก� ำหนดแนวทางในส่วนนี้ไว้ในยุทธศาสตร์ ที่ ๒ ที่ว่าด้วยการลดความเหลื่อมล�้ ำ สาระส� ำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน ที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ดังกล่าว มีทั้งหมด ๕ ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา (๒) การยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานบริการสาธารณสุข (๓) การสร้างโอกาสและรายได้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเศรษฐกิจชุมชน (๔) แรงงาน และ (๕) ระบบยุติธรรมเพื่อลด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=