วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

241 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ซึ่งในงานดังกล่าวเขาให้ความสนใจกับโครงสร้างของสังคมและความสัมพันธ์ที่มีต่อกันโดยถือว่าเป็นความ สัมพันธ์ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และน� ำไปสู่ dynamic equilibrium ๗.๔ พาร์สันส์ไม่เพียงแต่สนใจตัวระบบทางสังคม แต่สนใจความสัมพันธ์ของระบบทางสังคม ต่อระบบแห่งการกระท� ำการทางสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะระบบบุคลิกภาพและระบบวัฒนธรรม พาร์สันส์ เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่าง ๆ เหล่านั้น ก็เป็นเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่อยู่ภายในตัวระบบนั้นเอง กล่าวคือ มีลักษณะที่เป็น cohesion, consensus และ order ความหมายก็คือ โครงสร้างต่าง ๆ ทาง สังคมได้ท� ำหน้าที่หรือที่เรียกว่าหน้าที่ประโยชน์ (functional) ต่อกัน ๗.๕ Nicholas Abercrombie, et al. The Penguin Dictionary of Sociology. Penguin Book, 2000, p. 255. กล่าวว่า เป้าหมายของพาร์สันส์ค่อนข้างกว้างขวางคือเพื่อให้มีโครงสร้างเชิงความคิด ส� ำหรับสังคมวิทยาทั่วทั้งหมดและน่าจะรวมบูรณาการทุกแขนงทางสังคมศาสตร์ทั้งนี้โดยด� ำเนินการบูรณา การระหว่างการวิเคราะห์การกระท� ำของแต่ละบุคคลและการวิเคราะห์ระบบสังคมขนาดใหญ่หรือในระดับ ใหญ่ เขาเริ่มต้นด้วยทฤษฎีที่ว่าด้วยการกระท� ำทางสังคมซึ่งลักษณะส� ำคัญก็คือบ่งชี้ความส� ำคัญระหว่าง ตัวผู้กระท� ำการและลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นได้ให้ความหมายในกรณีที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ บุคคลอื่น ๆ อันมีการ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งตัวผู้กระท� ำการต้องสังเกตการลงมือกระท� ำของผู้อื่นรวมทั้งความปรารถนา และจุดมุ่งหมายของผู้อื่น ทั้งหลายเหล่านี้เขาถือว่าเป็นเป้าหมายในการแสวงหาความรู้ ในการปฏิสัมพันธ์ ดังกล่าวโดยที่ปทัสถานและค่านิยมส� ำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นตัวการที่จัดระเบียบการกระท� ำของผู้อื่น รวมทั้งคาดว่าผู้อื่นกระท� ำอย่างไร ทั้งนี้โดยผ่านกระบวนการสังคมประกิตซึ่งแต่ละบุคคลน� ำเข้าไปสู่ภายใน (internalized) ซึ่ง ปทัสถานและค่านิยมเมื่อผ่านจากวัยทารกจนกระทั่งเติบใหญ่ พาร์สันส์ถือว่าระบบบุคลิกภาพและระบบทางสังคมต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่เขาให้ความส� ำคัญ กับระบบสังคมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ ๘. ภาคผนวก : ตัวแบบของพาร์สันส์ A. The pure AGIL model for all living systems : ตัวแบบส� ำคัญทุกระบบที่มีชีวิต (A) Adaptation. การปรับตัว (G) Goal Attainment. การบรรลุเป้าหมาย (I) Integration. การบูรณาการ (L) Pattern maintenance. (L stands for “Latent function”). การรักษาไว้ซึ่งรูปแบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=