วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 240 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๗. ความส่งท้าย ๗.๑ เป็นที่ทราบกันดีว่าผลงานทางวิชาการของพาร์สันส์มีมากและในระดับต้นแบบคือ มีการ ริเริ่มมาก แต่ในอีกด้านหนึ่งแล้วเขามีอิทธิพลสูงต่อนักศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาตนเองจน กระทั่งเป็นนักทฤษฎีทางสังคมวิทยาเอง ผู้ที่โด่งดังที่สุดได้แก่ ๑) รอเบิร์ต เมอร์ตัน ซึ่งได้รับปริญญาเอก ใน ค.ศ. ๑๙๓๖ และต่อมาได้เป็นนักวิชาการแนวพาร์สันส์พร้อมกับการปรับปรุงเสริมเติมแต่งในช่วงที่ ท� ำงานอยู่ที่ Columbia University ๒) ในปีเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. ๑๙๓๖) คิงสลีย์ เดวิส (Kingsley Davis) ก็ได้รับปริญญาเอกที่ Harvard University และอีกสองปีต่อมา ๓) วิลเบิร์ต มัวร์ ซึ่งได้รับปริญญาเอกและ ท� ำงานร่วมกับเดวิสในระยะต่อมา โดยร่วมกันเขียนงานเกี่ยวข้องกับทฤษฎี structural-functional theory และในช่วงต่อ ๆ มาจวบจนกระทั่งทศวรรษ ๑๙๖๐ พาร์สันส์ได้มีบทบาทส� ำคัญในการผลิตนักศึกษาระดับ ปริญญาเอกทางด้านสังคมวิทยา (George Ritzer and Jeffrey Stepnisky. Sociological Theory . Ninth Edition, McGraw Hill, 2014, p.207,210.) ๗.๒ ผลงานส� ำคัญเริ่มจาก ค.ศ. ๑๙๓๗ ซึ่งเขาได้แปลหนังสือชื่อ The Structure of Social Action มีอิทธิพลต่อทฤษฎีทางสังคมวิทยาในสหรัฐอเมริกา ๓ ประการดังนี้ ๑) เป็นการอธิบายให้คนเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวยุโรปและโดยเฉพาะในกรณีของ เดอร์ไคม์ เวเบอร์ และปาเรโต ๒) พาร์สันส์ไม่ได้ให้ความสนใจต่อมากซ์และซิมเมลซึ่งท� ำให้ทฤษฎีในยุโรปดังกล่าว ไม่ได้รับการเผยแพร่จนกระทั่งระยะหลัง ๓) หนังสือชื่อ The Structure of Social Action ไปท� ำให้เห็นตัวอย่างของการวิเคราะห์ ทางทฤษฎีสังคมวิทยาที่ลึกซึ้งเฉียบคม ๗.๓ พาร์สันส์ได้น� ำเสนอทฤษฎีทางสังคมวิทยาซึ่งมีอิทธิพลสูงต่อสังคมวิทยาอย่างมาก ประเด็น หลักที่เขาเน้นคือ การเป็นระเบียบเรียบร้อยถูกถนอมรักษาไว้ได้อย่างไร ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงพาร์สันส์ ก็ถือว่าเป็นกระบวนการที่เป็นไปเป็นระเบียบเรียบร้อย ในช่วงต้นเขาให้ความส� ำคัญกับตัวผู้กระท� ำการ (actors) โดยค� ำนึงถึงความคิดและการกระท� ำของตัวผู้กระท� ำการนั้น แต่หลังจากผลงานใน ค.ศ. ๑๙๓๗ แล้ว พาร์สันส์ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความเป็นนักทฤษฎีที่วิเคราะห์ในระดับมหภาค (structural-functional) โดยพุ่งความสนใจไปที่ระบบทางวัฒนธรรมและสังคมในขนาดใหญ่ และถึงแม้ว่าตัวเขาเองไม่ถือว่าไม่มีการ ขัดแย้งกันระหว่างแนวทฤษฎี ๒ อย่างดังกล่าวนั้น ทฤษฎีที่พาร์สันส์ได้พัฒนาขึ้นที่เรียกว่าโครงสร้างและการหน้าที่ ได้เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นของทศวรรษ ๑๙๕๐-๑๙๕๙ ซึ่งปรากฏในงานเขียนหลายชิ้น แต่ที่ส� ำคัญคืองานเขียนที่ชื่อว่า The Social System (1951)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=