วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
239 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๖.๔ พาร์สันส์กล่าวว่า ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการเป็นเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่โรงเรียนท� ำหน้าที่ ในการเตรียมการในเรื่องนี้ กล่าวคือ โรงเรียนก� ำหนดมาตรฐานที่ใช้ได้ทั่วไปซึ่งเด็กนักเรียนทุกคนพึงบรรลุ สถานภาพนี้โดยความประพฤติของเด็กนักเรียนถูกประเมินตามมาตรฐานของกฎเกณฑ์หรือระเบียบของ โรงเรียน การบรรลุเป้าหมายต้องผ่านมาตรฐานในการสอบไล่ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันส� ำหรับนักเรียน ทุกคนโดยไม่ค� ำนึงถึงลักษณะที่ติดตัวมาไม่ว่าในเรื่องของเพศ ผิวสี พื้นฐานทางครอบครัว หรือชนชั้น ที่มาพร้อมกับครอบครัว พาร์สันส์กล่าวว่าโรงเรียนด� ำเนินการโดยยึดมาตรฐานหรือหลักการแห่งผลงาน (meritocratic principle) โดยที่สถานภาพขึ้นอยู่กับคุณค่าหรือผลงาน ๖.๕ แนวคิดนี้ของพาร์สันส์สอดคล้องกับทรรศนะของนักสังคมวิทยาระดับกูรู (Guru) รุ่นก่อนคือ เดอร์ไคม์ โดยถือว่า โรงเรียนเป็นตัวแทนของสังคมในระดับย่อย และโรงเรียนเป็นตัวการหรือเป็นหน่วยที่ เตรียมสมาชิกรุ่นเยาว์เพื่อบทบาทในสังคมเมื่อโตขึ้นซึ่งในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ให้ความส� ำคัญกับเรื่อง ของความสามารถ (achievement) มากกว่าสิ่งที่เป็นลักษณะที่ติดตัวแต่เดิมคือ เพศ ผิวพรรณ อีกทั้งยึด มาตรฐานที่เป็นสากลมากกว่าเฉพาะเจาะจงในวงแคบ และอีกทั้งยึดหลักการแห่งคุณภาพงานซึ่งเกี่ยวโยง กับสมาชิกทุกคน ๖.๖ พาร์สันส์กล่าวว่าในสังคมอเมริกันโรงเรียนมีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมส� ำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ ๑) ค่านิยมแห่งการบรรลุความส� ำเร็จ ๒) ค่านิยมหรือคุณค่าแห่งการทัดเทียมกันของโอกาส พาร์สันส์ เน้นว่า โรงเรียนสนับสนุนให้นักเรียนบรรลุระดับสูงทางด้านวิชาการและ มีการตอบแทนผู้ที่ประสบผลส� ำเร็จ และจากการที่มีการให้รางวัลผู้ประสบผลส� ำเร็จดังกล่าว โรงเรียนย่อม เป็นตัวการที่เกื้อหนุนคุณค่าแห่งการประสบผลส� ำเร็จ ทั้งนี้เป็นผลจากการที่โรงเรียนได้จัดให้ตัวบุคคล ในสถานการณ์เดียวกันคืออยู่ชั้นใดชั้นหนึ่งในห้องเรียนมีโอกาสในการแข่งขันในการสอบและการกระท� ำที่ ว่านั้นโรงเรียนส่งเสริมหรือสนับสนุนค่านิยมแห่งความเสมอภาคของโอกาสไปพร้อมกันไปด้วย นอกจากนี้พาร์สันส์เสนอว่าระบบการศึกษาเป็นกลไกส� ำคัญส� ำหรับการคัดเลือกบุคคล เพื่อบทบาทในสังคม เขากล่าวว่าระบบการศึกษา “functions to allocate these human resource within the role-structure of adult society.” (Anthony Giddens and Philip W. Sutton. Sociology . Seventh Edition, polity, 2013, p.693.)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=