วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 238 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 “Strictly speaking it is incorrect to say that the single individual thinks. Rather it is more correct to insist that he participates in thinking further what other men have though before him. He finds himself in an inherited situation with patterns of thought which are appropriate to this situation and attempts to elaborate further the inherited modes of response or to substitute others for them in order to deal more adequately with the new challenges which have arisen out of the shifts and changes in his situation. Every individual is therefore in a two-fold sense predetermined by the fact of growing up in a society: on the one hand he finds a ready-made situation and on the other he finds in that situation preformed patterns of thought and conduct….” (Charles Lemert. Social Theory: Multicultural and Classic Reading. Westview Press, 1999, p.219.) ๖. ผลงานทางวิชาการว่าด้วยการศึกษากับค่านิยมแบบกว้างขวางระดับสากล ๖.๑ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๕๙ พาร์สันส์มีผลงานเกี่ยวข้องสังคมวิทยาการศึกษา (Sociology of Education) โดยระบุว่า หลังจากได้รับการสังคมประกิตภายในครอบครัว (primary socialization) โรงเรียนได้ท� ำหน้าที่ในฐานะที่เป็นหน่วยแห่งการกล่อมเกลาในระดับที่ส� ำคัญยิ่ง (focal socializing agency) โดยโรงเรียนท� ำหน้าที่เหมือนกับเป็นช่วงรอยต่อหรือเป็นสะพานระหว่างครอบครัวและสังคม โดยการเตรียมการให้เด็ก ๆ พร้อมส� ำหรับบทบาทการเป็นผู้ใหญ่ ๖.๒ พาร์สันส์กล่าวว่า เด็ก ๆ ถูกพิจารณาและปฏิบัติต่อโดยผู้ ใหญ่ในมาตรฐานเฉพาะ (particularistic) โดยที่ผู้ใหญ่พิจารณาเด็กในวงกรอบแนวความคิดเหมือนกับเป็นเด็กเฉพาะของตนเอง มากกว่าการพิจารณาเด็กผู้นั้นไม่ว่าชายหรือหญิงในมาตรฐานที่ใช้ทั่ว ๆ ไปกับทุก ๆ คน แต่ในสังคมที่กว้าง ขวางใหญ่กว่าสังคมระดับครอบครัว ตัวบุคคลคือตัวเด็กนั้นถูกปฏิบัติต่อในแง่ของมาตรฐานระดับที่กว้าง ขวางเข้าขั้นสากลคือทั่วไป (universalistic) กล่าวคือ เป็นมาตรฐานที่ใช้กับสมาชิกทุกคนโดยไม่ค� ำนึงถึง ความเป็นญาติสนิทหรือวงศ์วาน ๖.๓ ในเรื่องของสถานภาพ (status) เด็กในครอบครัวนั้น พาร์สันส์กล่าวว่า ถูกมองโดยยึด มาตรฐานแห่งสถานภาพที่ได้ก� ำหนดมาก่อนแล้ว (ascribed) คือ โดยก� ำเนิด แต่เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสังคมที่การอุตสาหกรรมก้าวหน้าสถานภาพของความเป็นผู้ใหญ่ (adult states) เป็นสิ่ง ที่ได้รับมาภายหลัง คือ ต้องด� ำเนินการเองเพื่อบรรลุ (achieved) ตัวอย่างได้แก่ ตัวบุคคลได้บรรลุสถานภาพ แห่งอาชีพ (occupational status) ดังนั้น เด็กจะต้องเคลื่อนย้ายจากมาตรฐานเฉพาะและสถานภาพ ที่ถูกก� ำหนดไว้แต่เดิมภายในครอบครัวเข้าสู่มาตรฐานที่เป็นสากลและสถานภาพที่ได้กระท� ำขึ้นเอง ในสังคมแห่งความเป็นผู้ใหญ่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=