วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 236 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ชไนเดอร์เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบเครือญาติของอเมริกันดังปรากฏในหนังสือ American Kinship: A Cultural Account (1968) หนังสือนี้ท� ำให้พาร์สันเข้าใจระบบเครือญาติอเมริกันมากขึ้น และเข้าใจพื้นฐานด้านทฤษฎีว่าด้วยชุมชนแห่งองค์รวมของสังคม (societal community) ซึ่งในช่วงท้าย แห่งชีวิตของพาร์สันส์ ๑๙๗๐-๗๘/๗๙ ได้ให้ความส� ำคัญกับเรื่องดังกล่าว อนึ่งพาร์สันส์ได้ยืมศัพท์จาก Schneider คือความเป็นปึกแผ่นที่คงทนแต่มีลักษณะกระจาย diffuse enduring solidarity ที่บ่งบอก ลักษณะของชุมชนระดับองค์รวมทางสังคม (societal community) พาร์สันส์มีอิทธิพลต่อนักศึกษาผู้หนึ่งที่เรียนกับเขา โดยจบปริญญาเอก ณ Harvard ใน ค.ศ. ๑๙๖๔ ได้แก่ เอดเวิร์ด เลามันน์ (Edward Laumann, 1938- ) ผู้ซึ่งให้ความสนใจการวิเคราะห์ โครงสร้างของเครือข่ายทางสังคม (social network analysis) อันก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นระดับชุมชน โดยผสมผสานกับบทบาทเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ๔.๙ ความสนใจของพาร์สันส์มีหลากหลาย รวมทั้ง ๑) การร่วมสัมมนาว่าด้วยเรื่องกฎหมายกับ สังคมวิทยาใน ค.ศ. ๑๙๗๒ โดยร่วมมือกับ ลอน แอล. ฟุลเลอร์ (Lon L. Fuller) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในผลงานที่ชื่อว่า The Morality of Law (1964) และพาร์สันส์ได้เขียนบทความซึ่งถือว่ามีอิทธิพล สูงยิ่งได้แก่ “Law as an Intellectual Stepchild.” (Freeman, Linton C. The Development of Social Network Analysis . Vancouver: Empirical Press, 2004.) ซึ่งเขาได้พิจารณาผลงานของ Roberto Mangabeira Unger ชื่อกฎหมายในสังคมสมัยใหม่ Law in Modern Society (1976) และ 2) ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๗๒ พาร์สันส์ได้ร่วมการประชุมที่ซัลซ์บูร์ก (Salzburg) ที่ว่าด้วยผล ทางสังคมจากการเข้าสู่ความทันสมัยในประเทศสังคมนิยม ซึ่งอะเล็กซ์ อิงเคอเลส (Alex Inkeles) เอซรา โฟเกล (Ezra Vogel) และราล์ฟ ดาเรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf, 1929-2009) เข้าร่วมประชุมด้วย ๔.๑๐ ใน ค.ศ. ๑๙๗๓ พาร์สันส์ได้เขียนหนังสือชื่อ The American University ร่วมกับ เจอรัลด์ เอ็ม แพลตต์ (Gerald M. Platt) โดยได้รับเชิญให้เขียนจากมาร์ติน เมเออร์สัน (Martin Meyerson) และสตีเฟน เกราบาร์ด (Stephen Graubard) แห่งสถาบันอเมริกันว่าด้วยศิลปะและ วิทยาศาสตร์ พาร์สันส์เสนอว่า การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมและทางการศึกษา เป็นตัวการส� ำคัญ ในการอุบัติขึ้นของโลกสมัยใหม่ ผลงานนี้เป็นคุณูปการต่อ Sociology of Education ๕. เกษียณอายุและมรณกรรม ๕.๑ พาร์สันส์เกษียณจาก Harvard University ใน ค.ศ. ๑๙๗๓ แต่เขาก็ยังติดต่อกับนักวิชาการ อื่น ๆ และได้รับเชิญไปบรรยาย ณ สถาบันต่าง ๆ เช่น ๑) University of Pennsylvania, ๒) Brown University, ๓) Rutgers University, ๔) The University of Chicago รวมทั้งที่ ๕) University of California at Berkeley.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=