วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

235 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ทั้งนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดของริสแมนมีลักษณะคล้าย ๆ กับมโนทัศน์ของชาลส์ ฮอร์ตัน คูลี (Charles Horton Cooley, 1864-1929) นักสังคมวิทยารุ่นเก่าที่เสนอความคิดว่ าด้วย “looking-glass self” (ตัวตนที่สะท้อนภาพบุคคลอื่น ๆ) เหมือนกับดูภาพตนเอง พาร์สันส์และไวท์เห็นว่าอุปนิสัยคนอเมริกันยังคงยึดโยงอยู่กับการมีจิตส� ำนึก แต่กลไกและ การแสดงออกให้ปรากฏแตกต่างออกไป ๔.๖ ใน ค.ศ. ๑๙๖๔ พาร์สันส์เดินทางไปไฮเดิลแบร์ก เพื่อร่วมในการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ของเวเบอร์ (Weber’s Centennial) และได้สนทนากับ ๑) เยือร์เกิน ฮาเบอร์มัส (Jürgen Habermas, 1829-) นักวิชาการเยอรมันผู้โด่งดังแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟิร์ต ๒) แฮร์แบร์ท มาร์คูเซอ (Herbert Marcuse, 1898-1979) นักคิดแนว critical theory และบุคคลอื่น การสนทนาค่อนข้างเข้มข้นเพราะ มีทรรศนะที่แตกต่างกัน อนึ่ง ในงานครบรอบ ๑ ศตวรรษดังกล่าว พาร์สันส์ได้มีโอกาสพบกับนักวิชาการที่เชี่ยวชาญงาน ของเวเบอร์ผู้หนึ่งซึ่งรู้ภาษาเยอรมันดีเพราะเป็นภาษาก� ำเนิด แต่ได้อพยพมาอยู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ คือ ๓) ไรน์ฮาร์ด เบนดิกซ์ (Reinhard Bendix, 1916-1991) แห่ง University of California, Berkeley ผู้แต่งหนังสือเรื่อง มักซ์ เวเบอร์  Max Weber: An Intellectual Portrait (1960) เบนดิกซ์เป็นทั้ง นักวิชาการและเป็นผู้บริหารโดยเคยด� ำรงต� ำแหน่งหัวหน้าภาควิชาทั้งสังคมวิทยา (Department of Society) และภาควิชารัฐศาสตร์ (Department of Political Science) ในช่วงเวลาที่ต่างกัน และเบนดิกซ์น่าจะเป็นผู้เชิญพาร์สันมาบรรยายพิเศษที่ UC, Berkeley ซึ่งผู้เขียน (จิรโชค) ซึ่งเป็น นักศึกษาอยู่ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังด้วยโดยมีความรู้สึกว่าภาษาพูดของท่านไม่เข้าใจยากอย่างในภาษา เขียนต� ำรา ๔.๗ ใน ค.ศ. ๑๙๖๙ พาร์สันส์ได้รับเชิญจากส� ำนักพิมพ์สารานุกรมประวัติศาสตร์ของ บรรดาความคิดต่าง ๆ (Encyclopedia of the History of Ideas) เพื่อให้เขียนเรื่อง สังคมวิทยาแห่ง ความรู้ (Sociology of Knowledge) และพาร์สันส์เขียนว่า สาขาสังคมวิทยาแห่งความรู้ว่าเป็น วิทยาการแขนงที่เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ ทั้งนี้ เขาให้เกียรติให้ credit กับผลงานของคาร์ล มันไฮม์ (Karl Mannheim, 1893-1947) ผู้เป็นนักวิชาการชาวฮังการีแต่อพยพไปอยู่เยอรมนีและหลังจากที่ ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อ� ำนาจเป็นเผด็จการได้ย้ายถิ่นมายังประเทศอังกฤษ ๔.๘ ช่วงปัจฉิมวัยพาร์สันส์สนใจในบทบาทของความเป็นชาติพันธุ์ ethnicity และศาสนา ความเป็นปึกแผ่นทางสังคมภายในชุมชน พาร์สันส์ได้ติดต่อกับนักศึกษาเก่าที่เขาเคยสอนชื่อ เดวิด เอ็ม. ชไนเดอร์ (David M. Schneider, 1918-1995) ซึ่งขณะนั้นเป็นอาจารย์ที่ University of California, Berkeley ก่อนที่ชไนเดอร์จะไปรับต� ำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่ University of Chicago ค.ศ. ๑๙๖๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=