วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 234 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ทั้งนี้ผู้เขียน (จิรโชค วีระสย) ได้มีโอกาสเข้าชั้นเรียนของบางท่าน เช่น วิชาสังคมวิทยาการเมือง (Political Sociology) ผู้บรรยายคือ ๑) ซีมัวร์ เมอร์ติน ลิปเซต (Seymour Mertin Lipset, 1922-2006) ผู้ซึ่งเป็นนักวิชาการอเมริกันคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมของ ๒ สมาคมวิชาการ คือ American Political Science Association (1979-80) และ American Sociological Association (1992-93) นอกจากนี้ ผู้เขียนได้เรียนวิชาการพัฒนาการทางการเมืองกับ ๒) เดวิด แอ็ปเตอร์ (David Apter) และวิชาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงกับ ๓) ชัลเมอส์ จอห์นสัน (Chalmers Johnson) และเคยสนทนากับ ๔) ลูเชียน ดับเบิลยู. แอ็ปเตอร์ (Lucian W. Pye) ว่าด้วย liberal education ๔.๓ ผลงานของพาร์สันได้รับการยกย่องโดยนักวิชาการที่โด่งดังและอายุยืนยาวมาก (ค.ศ. ๑๙๑๗- ๒๐๑๔) เกือบ ๑๐๐ ปี คือ เดวิด อีสตัน (David Easton) แห่ง Yale University ผู้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ที่แล้ว (ค.ศ. ๒๐๑๔) กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ของรัฐศาสตร์มีนักวิชาการหรือปัญญาชนเพียง ๒ คน เท่านั้น ที่พยายามสร้างทฤษฎีทั่ว ๆ ไป (general theory) เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ได้แก่ ตัวอีสตันเองและทัลคอตต์ พาร์สันส์ ๔.๔ พาร์สันส์สนใจอภิปรายประเด็นต่าง ๆ กับ รอเบิร์ต เอ็น เบลลาห์ (Robert N. Bellah) โดยเฉพาะที่ว่าด้วยปรัชญาทางศาสนาและในช่วงท้ายของ ค.ศ. ๑๙๖๐ เบลลาห์เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อศึกษา ศาสนาและอุดมการณ์ของญี่ปุ่นและพาร์สันส์ได้ส่งร่างข้อเขียนของเขาว่าด้วยพื้นฐานทางศาสนาของระบบ คุณค่าหรือค่านิยมอเมริกัน “The Religious Backkground of the American Value System” และ ขอให้เบลลาห์ (ซึ่งตอนอายุมากย้ายมาประจ� ำที่ UC Berkeley) วิจารณ์และเสนอแนะ พาร์สันส์สนใจเรื่องศาสนาและมักมีปฏิสัมพันธ์กับบรรดานักวิชาการและผู้ที่สนใจระบบความเชื่อ ค� ำสอนของศาสนา และสถาบันศาสนา ๔.๕ พาร์สันส์เขียนบทความร่วมกับวินสตัน ไวต์ (Winston White) ชื่อ การเชื่อมโยงระหว่าง อุปนิสัยกับสังคม (The Link Between Character and Society) ๑๙๖๑ ซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ผลงานของเดวิด ริสแมน (David Riesman) เรื่อง ฝูงชนผู้เปล่าเปลี่ยว (The Lonely Crowd) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยของคนอเมริกัน ซึ่งเป็นหนังสือที่ขายดียิ่งถึง ๑ ล้านเล่ม สิ่งที่ริสแมนน� ำเสนอคือ ในช่วงที่ลัทธินายทุนก� ำลังเกิดขึ้นนั้น มีผลกระทบต่อค่านิยมและลักษณะ อุปนิสัยของคนอเมริกันคือ จาก “traditional-directed” (ประเพณีน� ำ) ค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการ ถูกควบคุมหรือผลักดันโดยหลักการความเชื่อแบบ “inner directed” (ส� ำนึกน� ำ) สู่ “other directed” (ผู้อื่นน� ำ) คือ มักสดับตรับฟังและท� ำตามผู้อื่นหรือ “ผู้อื่นน� ำ” แต่ทั้งพาร์สันส์และ White ไม่เห็นด้วย โดยถือว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบุคลิกภาพของคนอเมริกันอันมีลักษณะเน้นแรงกระตุ้นภายใน หรือส� ำนึกรับผิดชอบน� ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=