วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

233 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๓.๘ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๗-๑๙๕๘ พาร์สันส์ได้มาประจ� ำอยู่ที่ Center of Advanced Study in the Behavioral Sciences ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปาโลอัลโต (Palo Alto), แคลิฟอร์เนีย (California) ซึ่งพาร์สันส์ได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากอัลเฟรด แอล. เกรอเบอร์ (Alfred L. Kroeber, 1876-1960) นักมานุษยวิทยาผู้อาวุโส ซึ่งตอนนั้นอายุประมาณ ๘๑ ปี และเกรอเบอร์ได้เสนอให้พาร์สันส์ เขียนจุดยืนร่วมกัน joint statement เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างระบบสังคมและระบบ วัฒนธรรม และดังปรากฏใน Alfred L. Kroeber and Talcott Parsons. The Concept of Culture and the Social System . American Sociological Review, Vol.23. No.5. 1958.pp . 582-583. ๔. การอภิปรายผลงานวิชาการของพาร์สันส์ ๑๙๕๐-๑๙๕๙ ๔.๑ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๕-๑๙๕๖ มีการจัดสัมมนาโดยอาจารย์ของมหาวิทยาลัย Cornell เป็นประจ� ำ เพื่ออภิปรายผลงานของพาร์สันส์ และ ค.ศ. ๑๙๕๗ มีการสัมมนา ๗ ครั้ง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมาก และครั้งหนึ่ง พาร์สันส์ได้เข้าร่วมประชุมและตอบค� ำถามค� ำวิจารณ์ ต่อมามีการจัดพิมพ์ผลการสัมมนาเหล่านี้ขึ้น โดยมีบรรณาธิการคือ แม็กซ์ แบล็ก (Max Black) และพิมพ์ในรูปเล่มชื่อ The Social Theories of Talcott Parsons: A Critical Examination และมีบทความของพาร์สันส์เองด้วย การอภิปรายเกี่ยวโยงกับทฤษฎี บุคลิกภาพ (personality) ทฤษฎีองค์การ (organization) และเกี่ยวข้องกับวิธีการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย (methodology) ข้อเขียนวิชาการของพาร์สันส์ รวมทั้งอีกหนึ่งบทความซึ่งพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๙๖๐ ชื่อว่า Pattern Variables Revisited ซึ่งอธิบายสาระส� ำคัญของทฤษฎีของพาร์สันส์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ ตัวแบบต่างๆ ๔.๒ ในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐ มีนักวิชาการหลายคนได้รับอิทธิพลจากความคิดของพาร์สันส์ โดยเฉพาะในเรื่องการเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ (modernization) ตัวอย่างได้แก่ ๑) Gabriel A. Almond and James S. Coleman. The Politics of Developing Areas. ๒) Karl W. Deutsch ๓) S.N. Eisenstadt ๔) Seymour Martin Lipset ๕) Samuel P. Huntington ๖) David E. Apter ๗) Lucian W. Pye ๘) Sidney Verba ๙) Chalmers Johnson

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=