วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 232 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๕๙ พาร์สันส์ได้พัฒนาตัวแบบ AGIL model อันว่าด้วย ๑) การปรับตัว Adaptation ๒) จุดหมาย Goal ๓) การบูรณาการ Integration ๔) Latency พาร์สันส์กล่าวไว้ได้รับ แรงกระตุ้นหรือแนวคิดจากการสนทนากับรอเบิร์ต เอฟ. เบลส์ (Robert F. Bales) ในการศึกษาสาเหตุ จูงใจในกลุ่มย่อย ๆ พาร์สันส์ขยายความคิดนี้ร่วมกับนักศึกษาของเขาคือนีล สเมลเซอร์ ๓.๖ งานทางวิชาการของพาร์สันส์ชะลอตัวลงจากการที่เขาถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวโยงกับลัทธิ คอมมิวนิสต์ในยุคแห่งการไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวว่ามีความคิดต่อต้านประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่เรียกว่า ยุคแม็กคาร์ที (The McCarthy era) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ โจเซฟ อาร์. แม็กคาร์ที (Joseph R. McCarthy, 1908-1957) วุฒิสมาชิกแห่งรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) ได้ริเริ่มกล่าวหาใน ค.ศ. ๑๙๕๐ ช่วงสงครามเย็น (Cold War) อันมีการคุกรุ่นแห่งการขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกคอมมิวนิสต์ แม็กคาร์ทีกล่าวหาว่ามีการแทรกซึม infiltration ของความคิดแบบคอมมิวนิสต์เข้าสู่วงการรัฐบาล รวมทั้งวงการศึกษา มีผลให้ใน ค.ศ. ๑๙๕๒ ผู้อ� ำนวยการ CIA คือ เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) สงสัยว่ามีกิจกรรมคอมมิวนิสต์ที่ฮาร์วาร์ดและเกี่ยวโยงกับพาร์สันส์ โดยฮูเวอร์กล่าวอ้างว่า ในช่วงที่ โซโรคินท� ำงานเป็นหัวหน้าภาควิชาอยู่นั้นมีลักษณะที่อนุรักษ์นิยม และมีคนอเมริกันที่ภักดีต่อชาติ (loyal Americans) แต่ในช่วงที่มีภาควิชาใหม่ที่เรียกว่า ภาควิชาความสัมพันธ์ทางสังคม (Department of Social Relations) เปลี่ยนมาเป็นซ้าย และพาร์สันส์ถูกสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน ของพาร์สันส์ชื่อ แซมวล สเตาฟ์เฟอร์ อันมีผลท� ำให้พาร์สันส์ไม่ได้เข้าร่วมการประชุม UNESCO จนกระทั่ง ถึงปี ๑๙๕๕ ซึ่งเขาหลุดจากข้อกล่าวหานั้น ๓.๗ พาร์สันส์มีผลงานออกมาซึ่งใน ค.ศ. ๑๙๕๖ คือ Family, Socialization and Interaction Process ซึ่งอธิบายว่าจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์เข้าไปสู่ทฤษฎีว่าด้วยแรงจูงใจ (motivation) และ การเข้าสู่สังคมประกิต (socialization) รวมทั้งประเด็นที่ว่าด้วยความเป็นญาติกัน (kinship) ซึ่งต่อมา เขาเรียกว่าเป็น the societal community หนังสือดังกล่าวเขียนโดยร่วมมือกับ รอเบิร์ต เอฟ. เบลส์ (Robert F. Bales), เจมส์ โอลส์ (James Olds), มอร์ริส เซลดิทช์ จูเนียร์ (Morris Zelditch Jr.,) และฟิลิป อี. สเลเตอร์ (Philip E. Slater) สาระเกี่ยวข้องกับทฤษฎีบุคลิกภาพ ซึ่งเขาได้รับอิทธิพล จากนักวิจัยสมอง คือ เจมส์ โอลส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง neuroscience เขาได้แลกเปลี่ยนกับโอลส์ เกี่ยวกับโครงสร้างแรงจูงใจของปัญหาทางด้านจิตและร่างกาย นอกจากนี้ พาร์สันส์ได้รับอิทธิพล จากการอ่านงานวิจัยและสนทนากับฟรันซ์ อะเล็กซานเดอร์ (Franz Alexander) ผู้เป็นนักจิตวิเคราะห์ ซึ่งเดิมสังกัด Berlin Psychoanalytic Institute และผู้บุกเบิกวิทยาการแพทย์ว่าด้วย psychosomatic medicine
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=