วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
231 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ที่ UC Berkeley และเมื่ออายุ ๓๑ ปี ได้รับเลือกให้เป็นบรรณาธิการที่อายุน้อยที่สุดของวารสาร วิชาการทางสังคมวิทยาระดับน� ำ ได้แก่ ปริทรรศน์สังคมวิทยาอเมริกัน (American Sociological Review) และใน ค.ศ. ๒๐๑๐ ได้รับเกียรติจากการประชุมใหญ่ของนักสังคมวิทยาทั่วโลกที่ชุมนุมกันประมาณ ๖,๐๐๐ คน ที่ออสเตรเลียให้เป็นนักสังคมวิทยาระดับ lifetime ๔) Talcott Parsons. Societies: Evolutionary and Comparative Perspectives . New Jersey: Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, 1966b. ๕) Talcott Parsons. The System of Modern Societies . Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. 1971. ๓.๔ หนังสือเล่มแรกของพาร์สันส์เรื่อง โครงสร้างแห่งการกระท� ำทางสังคม (“The Structure of Social Action”) เสนอว่า การกระท� ำทางสังคมมีลักษณะเป็นโดยความต้องการหรือความประสงค์ ของตนเอง (“Voluntaristic”) ซึ่งเป็นแนวตรงกันข้ามกับแนวคิดที่ว่า “การกระท� ำ” เป็นการตอบสนอง ต่อ external stimuli คือ แรงกระตุ้นแบบร้อน หนาว หิวโหย หรือถูกบังคับ แต่ถือว่าผู้กระท� ำ (actor) ค� ำนึงถึงปทัสถาน (norms) และค่านิยมทางสังคม (social values) พาร์สันส์ กล่าวว่า ๕ เนื้อหาส� ำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกระท� ำ คือ ๑) ผู้กระท� ำการ (actors) ๒) เป้าหมาย (ends) ๓) means ทรัพยากรซึ่งมีอยู่เพื่อบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ๔) conditions เงื่อนไขด้านสภาพการณ์ซึ่งการกระท� ำนั้นมีการถูกด� ำเนินการ ๕) ปทัสถาน (norms) คือ มาตรฐานในส่วนที่บุคคลเลือกเป้าหมายและวิธีการ ๓.๕ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๔๐ และช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๕๐ พาร์สันส์ได้สร้างผลงานที่ส� ำคัญคือ ระบบสังคม (The Social System) เล่มนี้เขียนคนเดียว และ Toward a General Theory of Action โดยมีผู้เข้าร่วมเขียน ได้แก่ เอดเวิร์ด ทอลมัน (Edward Tolman), เอดเวิร์ด ชิลส์ (Edward Shils) และผู้ร่วมงานอีกหลายคน ข้อคิดพิจารณาและข้อมูลต่าง ๆ ได้รับอานิสงส์จากการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในการประชุมสัมมนาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิคาร์เนกี้ (Carnegie Foundation) จึงมักเรียกว่า Carnegie Seminar ในช่วงกันยายน ค.ศ. ๑๙๔๙ และมกราคม ค.ศ. ๑๙๕๐ ในหนังสือ The Social System พาร์สันส์เสนอกรอบพื้นฐานของทฤษฎีทั่วไปแห่งสังคม (General Theory of Society) อันเกี่ยวโยงกับสถานการณ์แห่งการปฏิสัมพันธ์ (interaction situation)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=