วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 230 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ฟาสซิสต์ (Fascism) และสงครามโลกครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ รวมทั้งปัญหาการขัดแย้งเกี่ยวกับเชื้อชาติ และด้านวัฒนธรรม รวมทั้งพยายามหาสาเหตุแห่งการขาดความมีเสถียรภาพและขาดความมั่นคงปลอดภัย ทางการเมือง (Robert Holton. Talcott Parsons in Rob Stones, ed. Key Sociological Thinkers . Palgrave, macmillan, 2008, p.136.) ๓.๒ พาร์สันส์มีชื่อเสียงว่าใช้ส� ำนวนที่เข้าใจได้ยากแม้นักวิชาการด้วยกันเองยังได้กล่าวไว้ว่า “Parsons has a reputation for his impenetrable prose style and the large number of new, long words that he invented. His work is certainly difficult. Do try read Parsons’s work, but do not expect to understand it all at a first reading.” สไตล์การเขียนของพาร์สันส์เป็นที่ปวดเศียรเวียนเกล้าของนักศึกษาโดยเฉพาะระดับปริญญา ตรีหรือแม้กระทั่งระดับที่สูงขึ้นไป สมัยที่ผู้เขียน (จิรโชค) เรียนระดับปริญญาตรีสาขาสังคมวิทยา (ค.ศ. ๑๙๕๘-๑๙๖๑) ที่ UC Berkeley ได้เคยพบกับเพื่อนนักศึกษาบางคนที่พูดทีเล่นทีจริงว่า เขาพากันปวดศีรษะเพราะถูกบังคับให้อ่านประโยคที่สลับซับซ้อนของพาร์สันส์จนอยากจะยื่นเรื่องฟ้องศาล เพื่อขอค่าท� ำขวัญหรือเยียวยา แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานของพาร์สันส์มีมากมายและหลากหลาย อีกทั้ง มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนจ� ำนวนมาก ดังที่ David Jary and Julia Jary, eds. Collins Dictionary of Sociology . Collin, 2005, p.446. ระบุไว้ดังต่อไปนี้ “All these elements of Parsons’ work were enormously influential at the time. Parsons’ books became virtual bibles for a generation of functionalist sociologists.” ๓.๓ ผลงานของพาร์สันส์ที่ส� ำคัญอื่น ๆ มี เช่น ๑) The Social System (1951) ๒) หนังสือที่ว่าด้วยครอบครัวซึ่งเขียนร่วมกับรอเบิร์ต เอฟ. เบลส์ (Robert F. Bales) ๓) ว่าด้วยเศรษฐกิจกับสังคม (Economy and Society) ซึ่งเขียนร่วมกับนีล สเมลเซอร์ (Neil Smelser, 1930- ) ซึ่งเป็นศิษย์ของพาร์สันส์ (ส� ำหรับสเมลเซอร์เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาความคิดทฤษฎี ทางสังคมวิทยาในระดับปริญญาตรีให้ผู้เขียนในกระบวนวิชาสังคมวิทยาระดับชั้นปีที่ ๔ (senior) ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ นครเบิร์คลีย์ (UC, Berkeley) ใน ค.ศ. ๑๙๖๑ นีล สเมลเซอร์ ได้รับปริญญาตรีจาก Harvard ใน ค.ศ. ๑๙๕๒ ช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๕๔ สเมลเซอร์ได้รับทุนเป็น Rhodes Scholar อันเป็นทุนที่มีเกียรติภูมิสูงยิ่งให้ศึกษา ณ Oxford ซึ่งเขาส� ำเร็จวิชา PPE (Philosophy, Politics and Economics) ต่อจากนั้น เมื่ออายุ ๒๔ ปี เขาเข้าเรียนระดับหลังปริญญาตรีที่ Harvard และได้เขียนผลงานร่วมกับพาร์สันส์ ซึ่งจัดพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๙๕๖ ก่อนที่สเมลเซอร์จะได้รับปริญญาเอก ที่ Harvard University ใน ค.ศ. ๑๙๕๘ และเมื่ออายุเพียง ๓๐ ปี ได้ต� ำแหน่ง Full Professor

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=