วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

229 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ความสัมพันธ์ระหว่างนายแพทย์กับคนไข้และระหว่างผู้วิเคราะห์และผู้ที่ถูกวิเคราะห์ (analyzed) ในวิธี การรักษาทางจิตแบบของฟรอยด์ (psychotherapy) ซึ่งน� ำเขาไปสู่ทฤษฎีว่าด้วยการกล่อมเกลาเบ้าหลอม ทางสังคมหรือสังคมประกิต (socializaton) ๒.๗ ใน ค.ศ. ๑๙๔๖พาร์สันส์ได้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้านจิตวิเคราะห์ที่ Boston Psychoanalytic Institute ทั้งนี้เกี่ยวโยงกับการที่เขาสูญเสียญาติผู้ใกล้ชิดทั้ง ๓ คน ท� ำให้เขาเข้าไปสู่การเรียนรู้ ด้าน psychotherapeutic help ช่วงนั้นถือว่าเป็นวิกฤติช่วงยุคสงคราม mid-life crisis โดยตอนนั้น พาร์สันส์ อายุ ๔๔ ปี ๒.๘ ต่อมาพาร์สันส์ทิ้งความสนใจด้านจิตวิเคราะห์และหันเหมาสู่ความสนใจปัญหาทาง ด้านการเมืองและเศรษฐกิจโดยเฉพาะสนใจการเผยแพร่ผลงานของมักซ์ เวเบอร์ซึ่งมีโอกาสหนึ่ง ที่เขาได้รับเชิญให้วิจารณ์ผลงานแปลหนังสือของเวเบอร์ชื่อ Wirtschaft und Gessellschaft โดย นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่ง ๒.๙ พาร์สันส์ตัดสินใจแปลข้อเขียนของเวเบอร์และได้เพิ่มการการอภิปรายว่าด้วยประเภทของ อ� ำนาจอันชอบธรรม (legitimate power) คือ types of authority ๓ อย่าง ได้แก่ ๑) Rational-legal authority อ� ำนาจแบบตรรกนิตินัย ๒) Traditional authority อ� ำนาจตามครรลองประเพณีปฏิบัติ ๓) Charismatic Authority อ� ำนาจแบบแคริสม่า คือ แบบพิเศษเฉพาะตนซึ่งแปลต่าง ๆ กัน เช่น บารมีวิสัย พร้อมค� ำน� ำซึ่งยาวมากประมาณ ๓๐,๐๐๐ ค� ำ จึงท� ำให้มีผู้เข้าใจแม็กซ์ เวเบอร์มากขึ้น (Max Weber (trans. A. M. Henderson and T. Parsons). The Theory of Social and Economic Organization. New York: Oxford University, Press, 1947.) ๓. ว่าด้วยงานวิชาการของพาร์สันส์ ๓.๑ พาร์สันส์เป็นนักสังคมวิทยาที่พยายามตอบค� ำถามส� ำคัญที่นักสังคมวิทยาในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ สนใจ และมุ่งเข้าใจประเด็นปัญหาทางสังคมการเมืองร่วมสมัย ว่าด้วยความเป็นระเบียบ เรียบร้อยทางสังคม (social order) เขาหาเหตุผลที่ท� ำให้สังคมต่าง ๆ อยู่รอดและมีระบบระเบียบเรียบร้อย มากบ้างน้อยบ้างมาได้อย่างไร พาร์สันส์ได้แสดงความเห็นตรงข้ามกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ ในการอธิบายการคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ว่ามาจากแรงจูงใจแห่งการมุ่งได้ประโยชน์ส่วนบุคคล (self-interest) ส� ำหรับพาร์สันส์นั้นเขาให้ความส� ำคัญกับปทัสถาน (norms) และค่านิยมหรือคุณค่า (values) อนึ่ง พาร์สันส์สนใจเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ก� ำลังเผชิญอยู่คือการต่อสู้กันระหว่างลัทธินายทุน กับลัทธิคอมมิวนิสต์พาร์สันส์พยายามหาเหตุผลทางสังคมวิทยาเพื่ออธิบายการเกิดขึ้นของลัทธิ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=