วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 228 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ช่วงที่พาร์สันส์อยู่ Harvard เขาได้มีโอกาสพบปะกับนักวิชาการนานาสาขา โดยเฉพาะเขาได้รับ อิทธิพลจากนักสังคมวิทยาชื่อ ดับเบิลยู. ลอยด์ วอร์เนอร์ (W. Lloyd Warner, 1898-1970) ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจาก การศึกษาชุมชนที่เกี่ยวกับชนชั้น ชีวิต การท� ำงานในโรงงาน การรวมกลุ่มของผู้มีเชื้อสายเดียวกัน และเกี่ยวกับ ศาสนาซึ่งมี ๕ เล่มด้วยกันเรียกว่า Yankee City Studies และ เอลตัน มาโย (Elton Mayo, 1880–1949) ผู้บุกเบิก human relations theory ดังปรากฏในผลงานที่เรียกว่า Hawthorne Studies โดยให้ ความส� ำคัญกับ informal organization มาโยเป็นผู้กระตุ้นให้พาร์สันส์สนใจทฤษฎีทางจิตวิทยาและพาร์สันส์ได้ท� ำการวิจัยเชิงประจักษ์ ว่าด้วย medical practice ในโรงพยาบาลซึ่งเขาได้ใช้วิธีการวิจัยแบบ participant observation และ interview ซึ่งก็พบว่า การปฏิบัติการต่าง ๆ ของอาชีพแพทย์เป็นรูปแบบเชิง ideal-typical ของ องค์การวิชาอาชีพสมัยใหม่ ๒.๕ มหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๔๕) มีผลท� ำให้จ� ำนวนนักศึกษาปริญญาโทและเอก ที่มาศึกษาที่ Harvard ลดน้อยลง ซึ่งท� ำให้พาร์สันส์สามารถเพิ่มเวลาในการค้นคว้าและได้มีโอกาสท� ำงาน ให้กับรัฐบาลอเมริกันในฐานะที่ปรึกษาว่าด้วยการฟื้นฟูหลังมหาสงครามโลก (post-war reconstruction) ของเยอรมนี ซึ่งมีผู้เสนอให้ลดหรือตัดทอนก� ำลังความสามารถต่าง ๆ โดยเฉพาะความเป็นอุตสาหกรรมของ เยอรมนีเพื่อตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้เยอรมนีเป็นอันตรายต่อยุโรปและกลุ่มประเทศในแอตแลนติคเหนือ ในเรื่องนี้พาร์สันส์ผู้มั่นคงในต� ำแหน่งงานที่ฮาร์วาร์ดแล้วตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๓๗ ได้เขียนบันทึกคัดค้าน เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะควรทั้งนี้เขาท� ำในฐานะนักสังคมวิทยา พาร์สันส์เสนอความเห็นซึ่งในช่วง เวลาดังกล่าวรัฐบาลอเมริกันไม่ได้ใช้นักสังคมวิทยามากนัก ยกเว้นในเรื่องของการท� ำส� ำมะโนประชากร (census) และการศึกษาวิจัยส� ำหรับกระทรวงเกษตร อนึ่ง รัฐบาลอเมริกันมอบหมายให้มีการศึกษาเชิง สหวิทยาการว่าด้วยขวัญก� ำลังใจ (morale) ของทหารในสนามรบโดยมีหัวหน้านักวิจัยชื่อ แซมวล สเตาฟ์เฟอร์ (Samuel Stouffer, 1900-1960) และเขียนรายงานวิจัยที่เด่นมากชื่อ The American Soldier (1949) ซึ่งให้ ความส� ำคัญกับจิตวิทยาและวิธีการวิจัยแบบส� ำรวจ (survey research) อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มใช้มโนทัศน์ว่าด้วย relative deprivation พาร์สันส์ไม่ได้ร่วมในการวิจัยนี้แต่พาร์สันส์เขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับสังคม และวัฒนธรรมเยอรมัน และกล่าวถึงประชาธิปไตยในเยอรมนีก่อนยุคนาซี (pre-Nazi) ซึ่งว่าด้วยลักษณะ ทางสังคมวิทยาของลัทธิฟาสซิสม์และว่าด้วยปรัชญาการเมือง และลักษณะที่เรียกว่า เป็นบุคลิกภาพอ� ำนาจ นิยม (authotitarian personality) ทั้งที่ปรากฏอยู่ในเอกสารชื่อ Politics and Social Structure ๒.๖ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒และระยะ ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๓พาร์สันส์สูญเสียพี่ชายและบิดามารดา ซึ่งอาจมีผลท� ำให้เขาหันมาสนใจด้านสังคมวิทยาการแพทย์ และเขาหันมาศึกษา ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856-1939) และเป็นช่วงที่เขามาคุ้นเคยกับทฤษฎีของฟรอยด์ซึ่งเขาเน้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=