วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
227 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๒.๒ ในช่วง ๓-๔ ปีแรกแห่งการเป็นอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ดพาร์สันส์ได้ช่วยท� ำให้เวเบอร์เป็นที่รู้จักกัน มากขึ้นโดยการแปลหนังสือของเวเบอร์ ชื่อ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism ในการค้นคว้าเพิ่มเติมพาร์สันส์สนใจผลงานของนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษ ๑) อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall, 1842-1924) และนักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ๒) วิลเฟรโด ปาเรโต (Vilfredo Pareto, 1848-1923) ผู้เขียน The Mind and Society และผู้บัญญัติ หรือริเริ่มศัพท์ “elite” คือ “the few who rule the many.” ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวทฤษฎีของ จอห์น เมย์เนิร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes, 1883-1946) จากหนังสือชื่อ The General Theory of Employment, Interest and Money (1936) ที่เรียกว่า Keynesian economics ยังไม่แพร่หลาย ช่วงเวลาดังกล่าวพาร์สันส์หันมาสนใจเรื่องราวที่เป็นบริบททางสังคมวิทยาของเศรษฐศาสตร์ พาร์สันส์ให้ความสนใจกับผลงานของปาเรโต จากการฟัง แอล.เจ. เฮนเดอร์สัน (L.J. Henderson) สอนวิชาสัมมนาเรื่องดังกล่าวโดยมีนักสังคมศาสตร์ เช่น จอร์จ โฮมันส์ (George Homans, 1910-1988) เข้าฟังด้วยใน ค.ศ. ๑๙๓๔ ซึ่งเฮนเดอร์สันเป็นบุคคลส� ำคัญใน Harvard ด้านสังคมศาสตร์ในช่วง ทศวรรษ ๑๙๓๐ ๒.๓ ในช่วงนั้นฮาร์วาร์ดมีนักสังคมวิทยาเพียง ๒ คน ได้แก่ พิทิริม โซโรคิน (Pitirim Sorokin, 1889-1968) และคาร์ล ซิมเมอร์มันน์ (Carl Zimmerman) ขณะนั้น โซโรคินมีฐานะเป็นผู้อาวุโส ในสาขาสังคมวิทยา แต่อยู่ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มีผลงานเขียนมากแต่มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานและ บรรดาศิษย์ที่มุ่งเข้าเรียนกับเขาในระยะแรก ตอนหลังนักศึกษาเหล่านั้นหลายคนหันมาทางผู้เข้ามาเป็น อาจารย์ใหม่ คือ พาร์สันส์ นักศึกษาและบุคคลรุ่นนั้น ต่อมามีผลงานที่รู้จักกันกว้างขวาง เช่น ๑) รอเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert Merton) ๒) วิลเบิร์ต มัวร์ (Wilbert Moore) ๓) จอร์จ โฮมันส์ ๔) เบอร์นาร์ด บาร์เบอร์ (Bernard Barber) และ ๕) เอดเวิร์ด ทิร์ยาเกียน (Edward Tiryakian) ดังค� ำกล่าวของรอเบิร์ต เมอร์ตัน ที่กล่าวว่า “…although we students came to study with the renowned Sorokin, a subset of us stayed to work with the unknown Parsons.” ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะพาร์สันส์มีวิธีและ แนวการสอนอย่างที่กล่าวกันว่า “who taught by example rather than percept.” และนอกเหนือ จากสอนในห้องเรียนแล้วเขายังมีการจัด tutorials ที่ห้องท� ำงานที่ Harvard จนห้องนั้นได้รับฉายาเรียกว่า “ส� ำนักเรียนหรือกลุ่มพาร์สันส์ (the Parsonage)” ๒.๔ โซโรคินมีปฏิกิริยาต่อการมีชื่อเสียงของพาร์สันส์โดยการเป็นปฏิปักษ์แสดงความเป็นศัตรู อย่างชัดแจ้งโดยการต่อต้านพาร์สันส์ไม่ให้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ แต่เขาได้ต� ำแหน่งเพราะได้รับ ความกดดันจากเฮนเดอร์สันและบุคคลอื่นซึ่งอยู่ภายนอก โดยที่พาร์สันส์เป็นผู้สอนธรรมดา (instructor) เป็นเวลา ๙ ปีมาแล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=