วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ว่าด้วยชี วิ ตทางปัญญาของทัลคอตต์ พาร์สั นส์ On the Intellectual Life of Talcott Parsons (1902-1979) 226 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๑.๗ พาร์สันส์ให้ความสนใจอย่างยิ่งยวดกับงานวิชาการของเวเบอร์โดยเฉพาะ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพาร์สันส์มีพื้นฐานอยู่ในแวดวงศาสนาจาก การที่เขามีบิดาซึ่งเป็น minister ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่เขาสนใจว่าด้วยบทบาทของวัฒนธรรมและ ศาสนาในกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของโลก พาร์สันส์สนใจแปลงานของเวเบอร์จากภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษโดยไปติดต่อขออนุญาต จากภรรยาของเวเบอร์คือ มาเรียนเนอ เวเบอร์ (Marianne Weber) ซึ่งอนุญาตและได้เชิญเขาไปร่วม สนทนาวิชาการกับนักวิชาการอื่น ๆ ที่เรียกว่า Sociological Teas อันเป็นกลุ่มที่ท� ำการศึกษาประเด็น ต่าง ๆ ทางสังคมวิทยาโดยภรรยาของเวเบอร์จัดขึ้นในห้อง Salon ที่บ้าน ๑.๘ ในขณะที่พาร์สันส์อยู่ที่ไฮเดิลแบร์ก พาร์สันส์ได้พบกับบุคคลที่สนใจผลงานของเวเบอร์ พอ ๆ กัน ได้แก่ อะเล็กซานเดอร์ ฟอน เซลทิง (Alexander von Schelting) และได้เขียนบทวิจารณ์ หนังสือที่เขียนโดยเซลทิง ว่าด้วยเวเบอร์ อนึ่ง เขาได้ค้นคว้าหนังสือทางด้านสังคมวิทยาทางการศาสนา ของ แอนสท์ ดี. เทริลทช์ (Ernst D. Troeltsch, 1865-1923) และเรื่องราวเกี่ยวข้องกับนิกายแคลวิน (Calvinism) พาร์สันส์เขียนดุษฎีนิพนธ์ว่าด้วย “The Concept of Capitalism in Recent German Literature” จึงต้องติดตามการอภิปรายในเยอรมนีเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของลัทธินายทุนในฐานะที่เป็นระบบ เศรษฐกิจและสังคม เขาศึกษาผลงานของเวเบอร์ ที่ว่าด้วย The Protestant Ethics and the Spirit of Capitalism ๑.๙ พาร์สันส์เข้าเรียนกับคาร์ล ยัสเพอส์ ผู้ซึ่งระยะแรกท� ำงานในโรงพยาบาลจิตเวช เพราะ เขาจบจาก medical school แห่ง Heidelberg University แต่ต่อมาเรียนและสอบเข้าท� ำงาน ในภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยดังกล่าว นับว่าเป็นโอกาสดีที่พาร์สันส์เรียนกับยัสเพอส์ ซึ่งสนิทสนมกับ ครอบครัวมักซ์ เวเบอร์ ซึ่งเวเบอร์เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้น ๒. ชีวิตทางวิชาการในสหรัฐอเมริกา ๒.๑ หลังจากเรียนจบปริญญาเอกแล้วพาร์สันส์กลับมายังสหรัฐอเมริกาโดยเป็นอาจารย์ ระยะสั้นที่ Amherst และย้ายไปที่ฮาร์วาร์ดซึ่งขณะนั้นยังไม่มีภาควิชาสังคมวิทยา ระยะนั้นเขาจึงอยู่ใน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และได้ท� ำงานกับโจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter, 1883-1950) ท� ำให้เขา เข้าใจความส� ำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน (institutional economics) และกล่าวว่า “economic theory should be conceived as standing within some sort of theoretical matrix in which sociological theory also was included”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=