วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
225 ศาสตราจารย์พิ เศษ ดร.จิ รโชค วีระสย วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ Veblen, 1857-1929), ๒) จอห์น ดิวอี้ (John Dewey, 1859-1952) ผู้เป็น pragmatist philosopher ที่ให้ความส� ำคัญกับจิตวิทยาโดยถือว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตทางสังคมและ ๒) วิลเลียม เกรเฮม ซัมเนอร์ (William Graham Sumner, 1840-1910) ผู้ยึดแนววิวัฒนาการทางสังคมของเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer, 1820-1903) หนังสือ Folkways ของซัมเนอร์ให้ก� ำเนิดศัพท์ใหม่ที่ใช้กันทุกวันนี้ คือ mores (จารีต), folkways (วิถีประชา), enthocentrism และ Social Darwinism นอกจากนี้ พาร์สันส์มีโอกาสเรียนกับนักปรัชญาแคลเรนซ์ อี. แอร์ส (Clarence E. Ayres) ในวิชา Philosophy III ซึ่งรายงานในห้องเรียน (Term papers) ของเขาได้รับการเก็บรักษาไว้จนกระทั่งปัจจุบัน โดยเรื่องแรกเขาได้เขียนเกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมมนุษย์โดยพิจารณาจากมุมมองปัจเจกชน และทางด้านสังคมฉบับที่ ๒ เป็นข้อพิจารณาศีลธรรมในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ๑.๓ หลังจากจบปริญญาตรีแล้ว พาร์สันส์ได้ไปศึกษา ณ London School of Economics เป็นเวลา ๑ ปี ซึ่งท� ำให้เขาคุ้นเคยกับผลงานของ ๑) อาร์. เอช. ทอว์นีย์ (R. H. Tawney, 1880-1962) ๒) โบรนิสลาฟ มาลีนอฟสกี (Bronislaw Malinowski, 1884–1942) และยังสนิทสนมกับผู้ต่อมา เป็นนักวิชาการที่ส� ำคัญ ได้แก่ ๓) อี.อี. อีแวนส์-พริตชาร์ด (E. E. Evans-Pritchard, 1902-1973) ๔) เมเยอร์ ฟอร์เตส (Meyer Fortes, 1906–1983) และ ๕) เรย์มอนด์ เฟิร์ท (Raymond Firth, 1901- 2002) ผู้มีอายุยืนถึง ๑๐๑ ปี ๑.๔ ณ London School of Economics แห่งนี้เขาได้พบกับเพื่อนนักศึกษาชื่อ เฮเลน แบนครอฟต์ วอล์กเกอร์ (Helen Bancroft Walker) ซึ่งเขาได้สมรสด้วยใน ค.ศ. ๑๙๒๗ ครอบครัว พาร์สันส์มีบุตร ๓ คน ได้แก่ แอนน์ (Anne) ชาลส์ (Charles) และซูซาน (Susan) ๑.๕ ต่อจากลอนดอน พาร์สันส์ได้ไปศึกษาที่ University of Heidelberg และได้รับปริญญา ทางด้านสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์และในช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พาร์สันส์ ได้มีโอกาสสนทนากับน้องชายของมักซ์ เวเบอร์ ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคือ อัลเฟรด เวเบอร์ (Alfred Weber, 1868-1958) เขามีผลงานเขียน เช่น Fundamentals of Culture-Sociology (1920-1) ๑.๖ พาร์สันส์รู้จักคุ้นเคยกับคาร์ล มันน์ไฮม์ (Karl Mannheim, 1893-1947) และช่วงที่มีการ สอบวิชาปรัชญาของอิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ในหัวข้อที่ว่าด้วย “Critique of Pure Reason” ผู้สอบเขาได้แก่ นักปรัชญาชื่อ คาร์ล ยัสเพอส์ (Karl Jaspers, 1883-1969) ดุษฎีนิพนธ์ของพาร์สันส์ (Dr.Phil) ว่าด้วย “The Concept of Capitalism in the Recent German Literature” โดยเขาเน้นผลงานของแวร์เนอร์ ซอมบาร์ท (Werner Sombart, 1863-1941) และมักซ์ เวเบอร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=