วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
219 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ยอมรับและเชื่อมั่นในความส� ำเร็จในการสร้างนวัตกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการปฏิรูป การศึกษาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ (Harman, G: 2002); Grahan, S: 2008; วิจิตร ศรีสอ้าน : ๒๕๔๑; สีมา สีมานันฑ : ๒๕๔๑; อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ๒๕๕๒; Piyanart Svivalo: 2009) บทสรุป ในบทความนี้ เป็นการย้อนพินิจการบริหารจัดการส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “องค์การมหาชน” ในฐานะผู้อ� ำนวยการส� ำนักงาน และกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหาร สมศ. ได้บริหารงานภายใต้การก� ำกับดูแลของนายก รัฐมนตรี ๗ ท่าน ประธานกรรมการบริหาร ๔ ท่าน ในช่วงเวลา ๘ ปี ๕ เดือน (พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒) เป็นที่น่าสนใจว่า การบริหารจัดการองค์การรูปแบบใหม่ บุคลากรใหม่ ส� ำนักงานใหม่ ในบริบทเก่า ที่ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ต้นสังกัด รวมทั้งสังคมโดยรวมไม่ชอบการประเมินผล และไม่ต้องการ เปลี่ยนแปลง ผู้อ� ำนวยการเปรียบเสมือนนักการตลาดที่ต้องการขายสินค้าที่ผู้ซื้อไม่ต้องการซื้อ มองย้อน กลับไปแล้วพิจารณา ในการบริหารที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกติกา รวมทั้งน� ำความคิดจากภาคเอกชน คือ ผู้จัดการที่ต้องท� ำเป้าให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีใด ผู้เขียนได้เริ่มที่ความเป็นมาและจุดก� ำเนิด พร้อมทั้งอาศัยวิธีการท� ำความเข้าใจองค์การที่ชื่อ ว่า สมศ. และบริการของ สมศ. คือ บริการการประเมินคุณภาพภายในซึ่งเป็นบริการสาธารณะไม่เก็บ ค่าใช้จ่าย เพราะด� ำเนินการจากเงินภาษีอากรของประชาชน การย้อนพินิจครั้งนี้ ผู้เขียนพยายามอย่างยิ่ง ที่ให้รายงานความเป็นจริง มีหลักฐานยืนยันเป็นประจักษ์พยาน แต่ก็อาจไม่ครบถ้วน ซึ่งถ้ามีก็คงถือ เป็นข้อจ� ำกัดของบทความนี้ ผู้เขียนได้น� ำเสนอประเด็นส� ำคัญในการบริหารจัดการ สมศ. และการประเมินคุณภาพภายนอก ในฐานะเป็นกลไกระดับชาติ เพื่อคุณภาพการศึกษาของประเทศ คือ ๑) พึงเข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงบริหาร สมศ.โดยใช้เทคนิค 5 C พร้อมทั้งการตอบค� ำถามส� ำคัญว่า การประเมินคุณภาพภายนอกประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร และมีอะไรเป็นที่สุด ซึ่งเป็นชุดค� ำถามที่ท่านประธานอมเรศ ศิลาอ่อน อ่านพบชุดค� ำถามนี้ในพระไตรปิฎกแล้วน� ำมาให้ผู้อ� ำนวยการลองศึกษาและประยุกต์ใช้ในการประเมิน คุณภาพภายนอก ๒) องค์ประกอบส� ำคัญในการบริหารจัดการ สมศ.ให้ประสบความส� ำเร็จ ๓) การประเมิน การปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ สมศ.ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการปฏิบัติที่ดี ๔) การใช้สติปัญญาและความ กล้าหาญทางจริยธรรมสยบความเคลื่อนไหวและฝ่าวิกฤติ ๕) การออกแบบการประเมินคุณภาพภายนอก ให้สอดคล้องกับบริบทและยึดต้นสังกัดและสถานศึกษาเป็นส� ำคัญ ๖) การบริหารจัดการโดยการส่งเสริม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=