วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

217 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ก็ดี สมศ.ตระหนักว่าคุณภาพของผู้ประเมินภายนอกเป็นปัจจัยแห่งความส� ำเร็จของการประเมินคุณภาพ ภายนอก ดังนั้น สมศ. จึงให้ความส� ำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้ประเมินภายนอกอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง ๘. การบริหารจัดการเครือข่ายและความร่วมมือ (networking) เพื่อเสริมสร้างความ แข็งแกร่งของการประเมินคุณภาพภายนอก การบริหารจัดการเครือข่ายและพันธมิตรความร่วมมือ เป็นอีกเอกลักษณ์ของการบริหารจัดการ องค์การมหาชน การบริหารจัดการแบบเครือข่าย ทุกเครือข่ายมีความเท่าเทียมให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่มีใครเป็นนายใครเป็นบ่าว ร่วมมือกันท� ำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและอุดมการณ์เดียวกัน สมศ. ได้ตระหนักถึงความส� ำคัญของการมีส่วนร่วมและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจรวมทั้งมีเจตคติ ทางบวกต่อการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก จึงได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา ๑๒ แห่ง เป็นศูนย์เครือข่ายส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษา โดย สมศ. จัดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมการประชุมสัมมนา ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือ ในการประกันคุณภาพการศึกษา ศูนย์เครือข่าย สมศ. มีบทบาทส� ำคัญมากต่อการจุดประกายความคิด ในเรื่อง คุณภาพ วัฒนธรรมคุณภาพ การศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อทุกคน เพื่ออนาคตของลูกหลานไทย การประกันคุณภาพ และการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาและต้นสังกัด ศูนย์เครือข่ายประสบ ความส� ำเร็จในการระดมสรรพก� ำลัง เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก และเพื่อปฏิรูปการศึกษา สมศ. ด� ำเนินการความร่วมมือในมิติใหม่ คือ การให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ โครงการประเมินมหาวิทยาลัยของรัฐของส� ำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้เกิดเอกภาพระหว่างการประเมินภายนอก กับการประเมินของส� ำนักงาน ก.พ.ร. ช่วยลดภาระที่ไม่สมเหตุผลให้สถาบันอุดมศึกษา โครงการจัดท� ำต� ำรา ให้ส� ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการจัดท� ำมาตรฐานการวิจัยของประเทศของส� ำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการจัดท� ำมาตรฐานโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นน� ำของโลก โครงการประกวดสื่อการเรียนการสอนรากฐานการเรียนรู้และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ ส� ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การบริการวิชาการนี้เป็นโอกาสที่ท� ำให้ สมศ. ได้พันธมิตรบนเส้นทางการยกคุณภาพการศึกษาของประเทศเพิ่มขึ้น มีโอกาสการประสานงานเพื่อให้การ ประเมินสถานศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งมีรายได้ในการจัดตั้งกองทุน สมศ. เพื่อความมั่นคงทาง ด้านการเงิน การลดงบประมาณจากรัฐสมเจตนารมณ์ขององค์การมหาชน ในการส่งมอบงานให้ผู้อ� ำนวยการ คนใหม่ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๓ กองทุน สมศ. มีเงินคงยอดเงินต้นเกือบ ๔๐๐ ล้านบาท การพัฒนาบุคลากร สมศ. ใช้งบประมาณจากเงินรายได้โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐเลย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=