วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
215 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ กลไกส� ำคัญในการยกคุณภาพโดยการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเรียนรู้ และปฏิรูปการบริหารจัดการฐานกรม สู่การบริหารจัดการฐานโรงเรียนอย่างประกันคุณภาพ ดังนั้น การออกแบบการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาจึงจ� ำเป็นต้องลดความกลัว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการประเมิน พร้อมทั้งมีความเข้าใจ และเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานและเพื่อปรับปรุงสถานศึกษา ซึ่ง สมศ. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร สมศ. มีมติเป็นประเด็นส� ำคัญ ดังนี้ ๑. เปลี่ยน การประเมินผล (evaluation) เป็นการประเมิน (assessment) ๒. เปลี่ยน ผู้ประเมิน (evaluator หรือ assessor) เป็นหมอโรงเรียน (school doctor) ๓. เปลี่ยน การประเมินผลจากการตรวจสอบจับผิด เป็นการประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐาน และเพื่อเรียนรู้ปรับปรุงสถานศึกษาตามรูปแบบกัลยาณมิตรประเมิน และชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะ กฎกระทรวง และมาตรา ๘ (๑) (๒) ๔. สังเคราะห์มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการจาก ๒๗ มาตรฐาน ๙๑ ตัวบ่งชี้ เป็น ๑๔ มาตรฐาน ๕๓ ตัวบ่งชี้ เพื่อให้จดจ� ำและเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นส� ำหรับการประเมิน คุณภาพภายนอกในรอบแรก ๕. วางระบบการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา โดยให้มีการประกันคุณภาพภายใน เป็นมาตรฐานหนึ่งในการประเมินคุณภาพภายนอก ตามที่ รองศาสตราจารย์ด� ำรง เสนอในการรับฟัง ความคิดเห็น และรับข้อเสนอจาก ทปอ. และส� ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้ระบบ การประกันคุณภาพภายในและภายนอกสอดคล้องกัน ๖. ผู้อ� ำนวยการ สมศ. รับเป็นประธานในการก� ำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยท� ำงาน ร่วมกับส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้การประกันคุณภาพภายในและภายนอก มีความสอดคล้องกัน ๗. ก่อนการประเมินคุณภาพภายนอก มีการประเมินน� ำร่องสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๑๘ แห่ง สถาบันอุดมศึกษา ๕ แห่ง และสถาบันอาชีวศึกษา ๗ แห่ง เพื่อทดสอบความเป็นไปได้และความเหมาะสม ระบบการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อน� ำผลจากการน� ำร่องมาปรับปรุงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและ การยอมรับก่อนขยายผลต่อไป ๘. เนื่องจากการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเรื่องใหม่ และมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ความเข้าใจ ที่หลากหลาย คณะกรรมการบริหารจึงมีมติในการประเมินคุณภาพภายนอก รอบแรก พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๘ เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา และเรียนรู้ร่วมกัน ยกเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา ๕๑ ยังไม่ประเมินเพื่อรับรอง มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=