วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การย้อนพิ นิ จการบริ หารจั ดการส� ำนั กงานรั บรองมาตรฐานและประเมิ นคุณภาพการศึ กษา (องค์การมหาชน) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ 214 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ซึ่งรู้จักและคุ้นเคยกันที่สถาบันพระปกเกล้า เนื่องจากผู้เขียนเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เป็นกรรมการวิชาการ กรรมการ ติดตามและประเมินผล และเป็นวิทยากรอบรมวุฒิสมาชิก และสมาชิกผู้แทนราษฎรเป็นจ� ำนวนมาก เมื่อไปพบก็ได้รับการตอบสนองช่วยเหลืออย่างดี ได้ทราบความจริงว่าเอกสารที่ส่งไปส่วนใหญ่ สว. และ สส. ไม่ได้อ่านต้องเป็นเอกสารไม่เกินหนึ่งหน้าและจะให้ได้ผลไปพูดคุยเป็นกลุ่มย่อยซึ่งก็ได้ผล คือ เมื่อลงคะแนนเสียงปรากฏว่าสมาชิกวุฒิสภาให้คงบทเฉพาะกาล ๑๑๒ ต่อ ๑๗ เสียง สมศ. ก็ผ่าน การตรวจสอบของวุฒิสภามาได้ กรณีการของบประมาณกลางปี ๒๕๔๗ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ สมศ. ได้รับงบประมาณจ� ำนวน ๒๘๙ ล้านบาท เพื่อให้การประเมิน ภายนอกเป็นไปตามกฎหมาย คือ ให้แล้วเสร็จการประเมินภายนอกครั้งแรกภายใน วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๘ ต้องประเมินสถานศึกษาอีก ๙,๑๕๐ แห่ง ในไตรมาส ๓ และ ๔ ของปีงบประมาณ ๒๕๔๗ โดยต้องใช้งบประมาณ ๓๔๓,๕๘๕,๐๐๐ บาท โดย สมศ. ขออนุมัติใช้จ่ายเงินงบประมาณประจ� ำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ (เพิ่มเติม) รายการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ประเทศ สมศ. จัดท� ำโครงการและได้รับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ส� ำนักงบประมาณและคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่อง เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔.๑ (ฝ่ายการศึกษา) ซึ่งผู้อ� ำนวยการ สมศ. ได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการกลั่นกรองเรื่อง เสนอคณะรัฐมนตรี ต่อมาอยู่ใน คณะ ๒.๑ (ฝ่ายการศึกษาและสาธารณสุข) และปรับเป็นคณะที่ ๕ (ฝ่ายการต่างประเทศ การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม) ได้รับงบประมาณมาด� ำเนินการภายนอกได้ส� ำเร็จ โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามรอง นายกรัฐมนตรีว่า ต้องประเมินหรือไม่ ท่านตอบว่า ต้องประเมินตามกฎหมาย นายกรัฐมนตรีถามผู้อ� ำนวยการ ส� ำนักงบประมาณว่ามีเงินหรือไม่ ผู้อ� ำนวยการส� ำนักงบประมาณ ตอบว่า มีครับ นายกรัฐมนตรีสรุปว่า อนุมัติงบประมาณให้ สมศ. ไปประเมินตามที่ขอมา ฝากอาจารย์ให้ประเมินให้แม่นย� ำนะ ผู้เขียนก็ตอบ ไปว่า “ครับ” คณะรัฐมนตรีเชิญให้ผู้เขียนมาชี้แจง โดยไม่ต้องชี้แจงเพราะชี้แจงครบถ้วนก่อนประชุมและ เป็นฝีมือการประสานคณะรัฐมนตรีของรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) โดยแท้ ๕. การออกแบบการประเมินคุณภาพภายนอกสอดคล้องกับบริบท โดยยึดต้นสังกัดและ สถานศึกษาเป็นส� ำคัญ และชอบด้วยกฎหมาย การประเมินผลที่ผ่านมามักเป็นการตัดสิน ตรวจสอบ จับผิด ประจวบกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกคุณภาพการศึกษา ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งต้นสังกัดมีความรู้สึกกลัว ต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบโดยตรงกับตนเอง โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายนอกที่เป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=