วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

213 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ “ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อ� ำนวยการ สมศ. ยืนยันว่า การที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการส่งสัญญาณให้สถานศึกษา ยุติการเตรียมการประกันคุณภาพภายใน เพื่อพร้อมรับการ ประเมินภายนอกเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และในความเป็นจริงแล้ว การประเมินภายนอกมิได้มุ่งที่เอกสาร แต่ ดูร่องรอยการปฏิบัติงานจริงเป็นส� ำคัญ” ความขัดแย้งทางความคิดดังกล่าวน� ำไปสู่การขอแก้ไขบทเฉพาะกาลมาตรา ๗๒ วรรค ๓ ในพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาของชาติ โดยก� ำหนดว่า “ภายในหกปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงจัดให้มีการประเมินผลภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษา ทุกแห่ง” คณะกรรมาธิการวิสามัญ วุฒิสภา ได้ขอให้แก้ไขเป็น “ให้กระทรวงจัดให้มีการประเมินผล ภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง เมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี” ซึ่งเป็นการชะลอการปฏิรูปการศึกษาของประเทศออกไป สมศ. ได้ด� ำเนินการแก้ไขวิกฤตการณ์ ดังนี้ ๑. จัดท� ำบทวิเคราะห์ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการแก้ไขบทเฉพาะกาล ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบต่อ การปฏิรูปการศึกษา และอนาคตของลูกหลานไทย เสนอคณะกรรมการบริหารให้ความเห็นชอบ แล้ว ด� ำเนินการเผยแพร่ต่อวุฒิสมาชิก ผู้เกี่ยวข้อง และสาธารณะ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชน ช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ ๒. ศึกษาเพื่อระบุก� ำหนดให้ทราบว่าใครบ้างเป็นผู้น� ำการขอแก้ไขบทเฉพาะกาล ทั้งในบทบาท ผู้เสนอญัตติ และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ในบทบาทเสนาธิการ แล้วส่งผู้แทนที่เป็นผู้เคารพนับถือของคนเหล่า นั้นให้ช่วยให้ข้อมูลชี้แจงตามเอกสารที่ สมศ. จัดเตรียมให้ รวมทั้งขอค� ำแนะน� ำและขอการสนับสนุน ไม่ให้แก้ไขบทเฉพาะกาลดังกล่าวออกไปจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและผู้มีอ� ำนาจในบ้านเมือง ซึ่งเป็นหน้าที่ ของผู้อ� ำนวยการ สมศ. ต้องด� ำเนินการเอง ๓. ประชุมหน่วยประเมินภายนอกซึ่งเป็นบริษัทประเมินภายนอก หรือห้างหุ้นส่วนจ� ำกัดประเมิน ภายนอกมากกว่า ๑๐๐ หน่วย ก็ได้แจ้งที่ประชุมว่า ถ้าเลื่อนการประเมินภายนอกไป ๑๐ ปี ค่อยเริ่มประเมิน ผู้เขียนและเจ้าหน้าที่ไม่มีปัญหาเพราะได้รับเงินเดือน แต่หน่วยประเมินจะอยู่อย่างไร ทุกหน่วยประเมินก็ขอ ให้ สมศ. บอกกลยุทธ์ว่าจะท� ำอย่างไร คราวนี้เราต้องท� ำหน้าที่เป็น lobbyist ให้วุฒิสมาชิกลงคะแนนให้คง บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๒ วรรค ๓ ภายในเวลา ๑๕ วัน ให้รายงานว่ามีวุฒิสมาชิกท่านใดบ้างที่รับปากจะ สนับสนุนเรา ใครบ้างไม่สนับสนุน เราต้องให้แน่ใจว่าต้องได้เสียงสนับสนุนไม่ต�่ ำกว่า ๑๕๐ จาก ๒๐๐ คน จึงจะมั่นใจว่าเราจะผ่านวิกฤติไปได้ ผู้เขียนได้ไปขอพบประธาน รองประธาน และวุฒิสมาชิกหลายคน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=