วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
การย้อนพิ นิ จการบริ หารจั ดการส� ำนั กงานรั บรองมาตรฐานและประเมิ นคุณภาพการศึ กษา (องค์การมหาชน) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ 212 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 หนังสือพิมพ์รายวัน วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ (เว็บไซต์ : ktedu@nationgroup.com) พาดหัวข่าวด้วยค� ำว่า “กมธ.ศึกษา” โดดป้อง สมศ. บกพร่องโดยสุจริต กมธ.ศึกษาให้ข้อสังเกตว่า ให้ สมศ. เร่งผลักดันกฎกระทรวง ว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา และไม่ควรรับข้าราชการเป็น ผู้ประเมินภายนอก ผู้อ� ำนวยการ สมศ. ได้ให้สัมภาษณ์ ดังนี้ “...กฎกระทรวงฯ ดังกล่าวสามารถท� ำได้เร็ว เพราะขณะนี้ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและทบวง มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์มาตรฐานในการประกันคุณภาพภายในอยู่แล้ว ส่วน สมศ. ก็มีเกณฑ์ประเมินคุณภาพ ภายนอกเช่นกัน ถ้าส� ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติประสาน และน� ำทั้ง ๓ เกณฑ์มาไว้ในกฎ กระทรวงเดียวกันก็สามารถท� ำได้ ส่วนข้อสังเกตที่เห็นว่าไม่ควรรับข้าราชการและศึกษานิเทศก์เป็นผู้ประเมินภายนอกนั้น การรับ ผู้ประเมินภายนอกรุ่นที่ ๑-๑๐ นี้ สมศ. ยังคงรับข้าราชการและศึกษานิเทศก์อยู่ เนื่องจากเป็นช่วงการ พัฒนาระบบ แต่ถ้ามีการออกกฎกระทรวงที่ว่าด้วย การประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกอยู่ด้วยกัน แล้ว สมศ. ก็ต้องยึดตามหลักเกณฑ์ที่ก� ำหนดไว้ในกฎกระทรวง” นับได้ว่า สมศ. รอดปากเหยี่ยวปากกา ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร โดยสรุปว่า “การด� ำเนินงานของ สมศ. ได้มาตรฐานเชื่อถือได้” ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรอง การด� ำเนินงานของ สมศ. โดยคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการฯ ได้ช่วยอธิบายการด� ำเนินงานของ สมศ. ได้เป็นอย่างดี เป็นที่พอใจของผู้ร้องเรียน กรณีวุฒิสภาขอแก้ไขบทเฉพาะกาล ให้เลื่อนการประเมินคุณภาพภายนอกออกไป ๑๐ ปี จากปริทัศน์การศึกษาไทย ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ หน้า ๙ ระบุไว้ว่า “...รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีความเห็นแย้งในหลายประเด็นของการปฏิรูปการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นค� ำถามปฏิรูปการศึกษาแล้วเด็กไทยได้อะไร ความไม่เห็นด้วยในเรื่อง ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู และเรื่องการประเมินภายนอกโดย สมศ. นั้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประเด็นที่ต้องยอมรับ ว่า โดยคะแนนเสียงจากครู อาจารย์ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทั้งนี้เพราะความรู้สึกลึก ๆ ของครูนั้น ยังกลัวการ เปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบโดยตรงกับตนเองที่จะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้สูงกว่าในปัจจุบัน และก้าวสู่มาตรฐานสากลที่จะต้อง “เหนื่อย” มากกว่าอดีตที่ผ่านมา... รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการก็ถือเป็นวาระส� ำคัญที่จะเดินหน้าให้ทุกคน ท่ามกลางแรงหนุนมหาศาล... จึงเกิดเกมรุก ต่อส� ำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) และ สมศ. แบบเกาะติดอย่างผู้ที่เหนือชั้นกว่า อย่างเห็นได้ชัดทั้ง ๆ ที่ สปศ. และ สมศ. เป็นองค์กรอิสระตามกฎหมาย”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=