วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การย้อนพิ นิ จการบริ หารจั ดการส� ำนั กงานรั บรองมาตรฐานและประเมิ นคุณภาพการศึ กษา (องค์การมหาชน) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ 210 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 in my commitment to children and their parents as well as to teachers across Thailand. Perhaps I won’t be successful; maybe you’re correct. But I must at least try” How do you answer a statement like that?” ส่วนรายละเอียดของการบริหารจัดการที่ ดร.ทิพาวดี เมฆสวรรค์ เสนอมีประเด็นปัญหาอยู่ เรื่องเดียวในกรณี สมศ. ในระยะเริ่มต้น คือ ผู้รับบริการพอใจการประเมินคุณภาพภายนอก ต้องยอมรับ ว่าในสังคมไทย และวงการศึกษาไทยโดยเฉพาะต้นสังกัดและสถานศึกษาส่วนมากถ้าเลือกได้คงจะไม่ขอรับ บริการการประเมินคุณภาพภายนอก โดยเฉพาะสถานศึกษาที่ต�่ ำกว่ามาตรฐาน การประเมินคุณภาพ ภายนอกเปรียบเสมือนสินค้าที่ผู้ซื้อไม่ต้องการซื้อจึงยากมากที่จะท� ำให้เกิดความพึงพอใจ ๓. การประเมินผลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ สมศ. : กลไกส� ำคัญของการบริหารจัดการงาน บุคคลในองค์การมหาชน (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ศิริพร เสนามนตรี, ๒๕๕๐) สมศ. เป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “องค์การมหาชน” จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของ การปฏิรูประบบราชการให้เป็นนิติบุคคล ที่มีการบริหารจัดการโดยคณะบุคคลที่คล่องตัวแบบภาคเอกชน ใช้ทรัพยากรและบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น สมศ. จึงตระหนักถึงความส� ำคัญของการบริหาร บุคคลตามค่านิยม “หัวใจเป็นราชการ ท� ำงานแบบเอกชน” “one job full time” “ค่าของคนอยู่ที่ผล ของงาน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การประเมินผลการปฏิบัติงาน” ของบุคลากร จึงได้ก� ำหนดหลักเกณฑ์ ระบบ และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยบูรณาการจากแนวคิดทฤษฎี ๔ ทฤษฎี ได้แก่ โมเดลการ สร้างคุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการให้สมดุล การประเมินรอบด้าน และการประเมินตนเอง ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของ สมศ. ได้รับการยอมรับจากองค์การมหาชนอื่น ถือเป็นการปฏิบัติ ที่ดี อีกทั้งได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร เห็นว่า เป็นระบบการประเมินการปฏิบัติงาน ที่ชัดและเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด ๔. การใช้สติปัญญาและความกล้าหาญทางจริยธรรมสยบความเคลื่อนไหวและปัญหา อุปสรรคส� ำคัญในสถานการณ์ “ลูกผีลูกคน” “...ในระยะแรกผมจ� ำได้ว่า มีกลุ่มนักการเมืองที่เป็นพวกมิจฉาทิฐิ คือ คนที่ไม่มีโอกาสหลุดพ้น ก็พยายามจะท� ำลาย สมศ. แต่โชคดีที่ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง มีความสามารถต่อต้าน ชี้แจงให้ ผู้มีอ� ำนาจเห็นว่า ทางที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แต่ก็จะต้องเฝ้าระวังต่อไป อาจจะอีก ๑๐ ปี จน สมศ. ไม่อาจ ถูกท� ำลายได้ หากยังมีพวกมิจฉาทิฐิพยายามท� ำให้ผู้มีอ� ำนาจไขว้เขวไปและเห็นว่ามาตรฐานการศึกษา ไม่ส� ำคัญ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=