วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
209 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ๒. องค์ประกอบส� ำคัญในการบริหารจัดการ สมศ. ให้ประสบความส� ำเร็จ องค์กรที่ประสบความส� ำเร็จขึ้นอยู่กับผู้น� ำองค์กร มีวัตถุประสงค์ชัดเจนเข้าใจได้ มีกลยุทธ์ เฉียบคมและแผนปฏิบัติที่ดี ระบบการสื่อสารภายในน� ำไปสู่การท� ำงานเป็นทีม มีธรรมาภิบาล มีเจ้าหน้าที่ ที่มีคุณภาพ มีงบประมาณพอเพียง และมีผู้รับบริการที่ชัดเจน และผู้รับบริการพึงพอใจ (ทิพาวดี เมฆสวรรค์, ๒๕๔๒ : ๓๐-๓๑) ในทัศนะของศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต (อ้างถึงใน รุ่ง แก้วแดง, ๒๕๕๐) องค์ประกอบที่ส� ำคัญที่สุด คือ ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการ ซึ่งด� ำรงต� ำแหน่งผู้อ� ำนวยการ องค์การมหาชนนั้นด้วย หากองค์การมหาชนใดได้องค์ประกอบทั้งสองเป็นคนดี ซื่อสัตย์ และเป็นคนเก่งแล้ว เชื่อได้ว่า องค์การมหาชนนั้นจะประสบความส� ำเร็จอย่างสูง จากประสบการณ์สนับสนุนองค์ประกอบส� ำคัญที่สุด คือ ประธานกรรมการบริหาร เช่น นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการบริหารคนแรกซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจและตั้งใจเป็นอย่างสูงที่จะพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของประเทศไทยให้เท่าทันนานาประเทศ นายอมเรศ ศิลาอ่อน ให้ความส� ำคัญและสนใจงาน ประเมินคุณภาพภายนอกเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับ นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ และ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ทุกท่านล้วนมาจากภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ใช้ก� ำลังคน (demand side) มิใช่มาจากฝ่ายผลิต (supply side) ส่วนผู้อ� ำนวยการองค์การมหาชน ที่ท� ำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ บริหารและเป็นผู้บริหารส� ำนักงาน ในลักษณะเป็น CEO แต่ต้องเป็น CEO ที่เป็นผู้น� ำทางวิชาการ ในกรณี สมศ. คือผู้น� ำทางวิชาการประกันคุณภาพภายนอก โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายนอก มิใช่เป็น CEO ทางการบริหารธุรการ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ประชุมสุข อาชวอ� ำรุง ที่ เขียนไว้ในหนังสืองานมหาวิทยาลัย ในกรณีเช่นนี้ผู้อ� ำนวยการ สมศ. ต้องศึกษาเล่าเรียนเชี่ยวชาญทางการ วิจัย การทดสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพ และเป็นผู้ที่ประสบความส� ำเร็จในการบริหาร องค์การมาแล้ว และที่ส� ำคัญผู้อ� ำนวยการ สมศ. ต้องมีความมุ่งมั่นดังค� ำกล่าวของ Professor Dr.John J. Cogan แห่ง University of Minnesota ดังนี้ “When Dr. Somwung was considering taking the post to direct ONESQA, I tried my very best to talk him out of taking that position. We were finalizing a book, working together in a room in Hong Kong. He told me what had been offered, and I said, “Somwung, you cannot do this. This is impossible to achieve in the time frame that you have been given.” I said I think it’s even dangerous as school principals are not going to be happy if he does not give them good reports. So I feared for him. I brought to his attention every argument I could think of as to why he should not take this job. He looked me straight in the eyes and said: “Brother John, all of my life, I have worked to improve the lives of children and youth in my country. And if I were to turn down this opportunity now, I would have failed
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=