วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การย้อนพิ นิ จการบริ หารจั ดการส� ำนั กงานรั บรองมาตรฐานและประเมิ นคุณภาพการศึ กษา (องค์การมหาชน) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ 208 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 บทเรียนที่ได้รับจากการบริหารจัดการ สมศ. การจัดการศึกษาถือเป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และ มีคุณภาพโดยรัฐมอบหมายให้กระทรวง ทบวง กรม ต้นสังกัด และสถานศึกษา เป็นผู้ท� ำหน้าที่ให้บริการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ให้แก่ผู้รับบริการ คือ ผู้เรียนและ ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้รับบริการโดยตรง รวมทั้งผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และ สังคมโดยรวม ซึ่งเป็นสิ่งจ� ำเป็นที่รัฐต้องตรวจสอบประเมินผลว่า การให้บริการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบาย ด้านการศึกษาของรัฐและสนองความต้องการของผู้รับบริการกลุ่มต่าง ๆ เพียงใด การที่ออกแบบ สมศ. ให้เป็นองค์การมหาชน เพื่อให้ท� ำงานมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล เพราะความมีอิสระสามารถตัดสินใจได้เบ็ดเสร็จโดยคณะบุคคลที่ท� ำให้คล่องตัวมากกว่าระบบราชการ นอกจากนี้ การที่ สมศ. ไม่ต้องขึ้นกับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการศึกษา ท� ำให้ สมศ. มีความเป็น กลางและเป็นธรรม ปราศจากแรงกดดันที่จะท� ำให้ผลประเมินภายนอกเบี่ยงเบนไปจากความจริง อันจะก่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างแท้จริง และจะท� ำให้การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นบริการ สาธารณะที่เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสามารถตรวจสอบได้ว่า การจัดการศึกษาที่เป็น อยู่นั้นได้ “ให้” สิ่งที่ผู้เรียน สังคม และรัฐต้องการด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพเหมาะ ควรแก่ทรัพยากรจ� ำนวนมากจากภาษีอากรของประชาชนที่ได้รับการจัดสรรเพียงใด การทบทวนประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ สมศ. ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึง ๒๕๕๒ ทบทวนความคิด ความเข้าใจ สรุปความรู้ วิเคราะห์เหตุปัจจัยที่ท� ำให้การด� ำเนินงานประสบ ความส� ำเร็จหรือล้มเหลว ถือเป็นการทบทวน วิเคราะห์ภายหลังการปฏิบัติในหน้าที่ผู้อ� ำนวยการ สมศ. อันจะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อน� ำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด� ำเนินการ ให้การบริหารจัดการ สมศ. เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพให้สมกับเป็นกลไกระดับชาติเพื่อคุณภาพ การศึกษาของประเทศ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ๑. พึงเข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงบริหาร สมศ. ผู้บริหาร สมศ. ที่ประสบความส� ำเร็จจ� ำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้ และท� ำความเข้าใจ สมศ. ในฐานะ องค์การมหาชน ทั้งระดับหลักคิด หลักวิชาการ และหลักปฏิบัติ ดังที่อธิบายแล้วในหัวข้อ 5C กับการเข้าใจ และเข้าถึง สมศ. จากประสบการณ์ในฐานะที่ได้มีโอกาสศึกษาวิชา สมศ. ในประเทศและต่างประเทศ การได้เป็นกรรมการปฏิรูปการศึกษายุค ๒๕๔๒ ท� ำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า ท� ำไม สมศ. ต้องมีและต้องเป็น องค์การมหาชน ที่พนักงาน สมศ. ทุกคนมี “หัวใจเป็นราชการ” รับใช้ประชาชนโดย “ท� ำงานแบบเอกชน” ที่มีแรงขับสูงเพื่อความส� ำเร็จขององค์การ อีกทั้งประสบการณ์บริหารในทุกระดับที่ผ่านมาช่วยให้เห็น ช่องทางของการบริหารงานชอบด้วยกฎหมายและน� ำสู่ความส� ำเร็จได้อย่างชัดเจนแบบมืออาชีพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=