วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

207 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาแบบกระจายอ� ำนาจ ทั้งระดับต้นสังกัดและสถานศึกษา และการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส� ำคัญ ๓.๕ การประเมินคุณภาพภายนอกมีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา เป็นการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อทุกคน มีการคุ้มครองผู้บริโภคการศึกษา และเกิดวัฒนธรรมคุณภาพในวงการศึกษาและในสังคมไทย มุ่งสู่ความเป็นเลิศของการศึกษาและ ประสิทธิภาพของระบบการศึกษา อย่างไรก็ดี ในบริบทสังคมไทยที่เป็นสังคมสัมพันธ์ สังคมรักษาศักดิ์ศรีและหน้าตา มี เจตคติต่อการประเมินผลว่าเป็นการจับผิด จึงท� ำให้ไม่ชอบการประเมิน และหลายคนในวงการศึกษาไทย เป็นโรคกลัวการประเมิน (Evaluation Phobia) ส่งผลให้การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นบริการหรือ สินค้าที่ไม่พึงประสงค์ของผู้รับบริการ ดังนั้น ในการออกแบบและด� ำเนินการการประเมินคุณภาพภายนอก จ� ำเป็นต้องค� ำนึง ถึงบริบทที่เป็นอุปสรรคดังกล่าว โดยการปรับเปลี่ยนเจตคติให้ถูกต้องต่อการประเมินคุณภาพภายนอก มีความเป็นมิตรไว้ใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งเกิดพลังความร่วมมือจากทุกภาคีในการประเมินคุณภาพภายนอก ๔. C ตัวที่สี่ คือ Competitor หรือคู่แข่งขัน ในกรณีการประเมินคุณภาพภายนอกโดย สมศ.หรือองค์กร หรือบุคคลที่ สมศ. มอบหมาย สมศ. เป็นองค์การระดับชาติ เป็นองค์การเดียวในการ ด� ำเนินการประเมินคุณภาพภายนอก จึงกล่าวได้ว่า สมศ. ไม่มีคู่แข่งขันในการประเมินคุณภาพภายนอก ในประเทศ สมศ. จึงต้องแข่งกับตัวเองในการสร้างศรัทธาต่อต้นสังกัดและสถานศึกษา ซึ่งเป็นผู้รับบริการ ในกรณีโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนนานาชาติ ซึ่งได้รับการประเมินภายนอกจากหน่วยประเมินภายนอกจาก ต่างประเทศ เช่น CIS, WASH ซึ่งโรงเรียนนานาชาติต้องได้รับการประเมินภายนอกจากทั้ง สมศ. และหน่วยงานประเมินภายนอกจากต่างประเทศ จึงน่าจะถือว่าหน่วยงานประเมินภายนอกจากต่างประเทศ เป็นพันธมิตรมากกว่าเป็นคู่แข่งขัน ๕. C ตัวที่ห้า คือ Connections หรือเครือข่ายภาคีของ สมศ. ในการประเมินภายนอก การประเมินคุณภาพภายนอก เป็นกลไกระดมสรรพก� ำลังจากภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ของสถานศึกษา อาทิ ศูนย์เครือข่าย หน่วยงาน องค์กรวิชาการ/วิชาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือบุคคลที่ สมศ. รับรองให้ท� ำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกในนามของ สมศ. กระบวนแสวงหา พันธมิตร และภาคีเครือข่าย (networking) จึงเป็นกระบวนการส� ำคัญในการน� ำมาซึ่งความส� ำเร็จของ การประเมินคุณภาพภายนอก โดยส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีฐานะเป็น องค์การมหาชน ความไว้วางใจ ความร่วมมือร่วมใจ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน จึงเป็นประเด็นส� ำคัญ ในการท� ำงานแบบภาคีเครือข่ายในการประเมินคุณภาพภายนอก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=