วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การย้อนพิ นิ จการบริ หารจั ดการส� ำนั กงานรั บรองมาตรฐานและประเมิ นคุณภาพการศึ กษา (องค์การมหาชน) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ 206 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 สมศ. พึงจัดระบบและด� ำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อสนองความต้องการของต้นสังกัด และสถานศึกษา โดยเฉพาะท� ำให้ต้นสังกัดและสถานศึกษาเกิดความพึงพอใจ ตระหนักในคุณค่าของ การรับประเมินคุณภาพภายนอก อีกทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกต้องไม่เป็นภาระที่ไม่สมเหตุสมผล แก่ต้นสังกัดและสถานศึกษา ทั้งนี้ สมศ. พึงมีแนวคิดและกระบวนทัศน์ว่า การประเมินคุณภาพภายนอกโดยยึดต้นสังกัดและ สถานศึกษาเป็นส� ำคัญ ดังค� ำกล่าวต่อไปนี้ “ลูกค้า คือ แขกคนที่ส� ำคัญที่สุด ที่ได้มาเยือนเรา ณ สถานที่แห่งนี้ เขาไม่ได้มาพึ่งพิงเรา เราต่างหากที่ต้องพึ่งพาอาศัยเขา เขามิใช่บุคคลที่มาขัดจังหวะการท� ำงานของเรา เขามิใช่คนแปลกหน้า แต่เขาคือส่วนหนึ่งของสถานที่แห่งนี้ บริการจากพวกเรามิใช่การสงเคราะห์เขา เขาต่างหาก ที่ก� ำลังสงเคราะห์พวกเราด้วยการยอมให้เรามีโอกาสรับใช้เขา ฉะนั้นเราต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาถึงการเป็นผู้รับใช้ลูกค้า ต้องกระท� ำให้สม�่ ำเสมอ ต้องให้ความเท่าเทียม ต้องท� ำด้วยความจริงใจ และมีน�้ ำใจ” มหาตมา คานธี ๓. C ตัวที่สาม คือ Custody ในทางธุรกิจ หมายถึง สินค้า หรือบริการ ในส่วนของ สมศ. หมายความถึง การบริการการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อเกิดความเข้าใจและเข้าถึงการประเมินคุณภาพ ภายนอก ขอประมวลสรุปสาระส� ำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก ดังนี้ ๓.๑ การประเมินคุณภาพภายนอกประสงค์เพื่อรับรองมาตรฐาน และปรับปรุงสถานศึกษา ให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ๓.๒ การประเมินคุณภาพภายนอกนิยมความซื่อสัตย์ ความจริง ความเป็นกลาง และ ความโปร่งใส ๓.๓ การประเมินคุณภาพภายนอกมั่นใจในรายงานประเมินตนเองเชิงประจักษ์ หมอโรงเรียน มืออาชีพ และรูปแบบกัลยาณมิตรประเมิน ๓.๔ การประเมินคุณภาพภายนอก ต้องการประเมินผลการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ ศึกษาฐานโรงเรียน การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส� ำคัญ และการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=