วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

203 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ รักษาการผู้อ� ำนวยการ สมศ. (ดร.รุ่ง แก้วแดง) ได้ขออนุมัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอให้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ มาช่วยราชการ ณ ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา เพื่อเรียนรู้งานจากรักษาการผู้อ� ำนวยการ สมศ. เป็นเวลา ๒ เดือน (มิถุนายน-กรกฎาคม ๒๕๔๔) ในขณะที่รอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔ คณะรัฐมนตรี ได้ลงมติอนุมัติในหลักการให้ทุกหน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือในการอนุมัติข้าราชการ พนักงาน หรือ เจ้าหน้าที่ไปท� ำงานในส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้เป็นการชั่วคราว โดยให้ถือว่าไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส� ำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาประกาศใช้ ซึ่งกระทรวงการคลัง ส� ำนักงานปลัดส� ำนัก นายกรัฐมนตรี และส� ำนักงาน ก.พ. ให้พิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว ดังนั้น ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ จึงได้ด� ำรงต� ำแหน่งผู้อ� ำนวยการ สมศ. ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป ซึ่งครบวาระวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และรักษาการผู้อ� ำนวยการ สมศ. ในระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ รวมเป็นเวลา ๘ ปี ๕ เดือน เข้าใจและเข้าถึง สมศ. : 5C ๑. C ตัวที่หนึ่ง คือ Company ซึ่งในที่นี้หมายถึง ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) ๑.๑ สมศ. เป็นองค์การมหาชน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ จ� ำเป็นต้องเป็นองค์การมหาชนไม่เป็นส่วนราชการ เพื่อให้ท� ำงานมีประสิทธิภาพเพราะมีความเป็นอิสระ และมีอ� ำนาจตัดสินใจที่เบ็ดเสร็จได้ ท� ำให้เกิดการบริหารให้ลุล่วงตามภารกิจการประเมินคุณภาพภายนอก ได้มากกว่าการบริหารตามสายการบังคับบัญชาของระบบราชการ การเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นอยู่กับ สายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษา จะท� ำให้มีความเป็นกลาง นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยงานอิสระที่มีรัฐมนตรีที่ก� ำกับดูแลส� ำนักงานต่างหากจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และต่างขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรีเช่นกัน ท� ำให้การประเมินคุณภาพภายนอกมีความเป็นธรรม ปราศจาก ความล� ำเอียงและแรงกดดันที่จะท� ำให้ผลประเมินเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง อันจะก่อให้เกิดการตรวจสอบ และถ่วงดุลอย่างแท้จริง และจะท� ำให้การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นบริการสาธารณะที่เป็นกลไก ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสามารถที่จะตรวจสอบได้ว่า การจัดการศึกษาที่เป็นอยู่นั้นได้ “ให้” สิ่งที่ผู้เรียน สังคม และรัฐ ต้องการด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพเหมาะควรแก่ทรัพยากร จ� ำนวนมากจากภาษีอากรของประชาชนที่ได้รับการจัดสรรเพียงใด สมศ. เป็นองค์การมหาชนที่ให้บริการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=