วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

201 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็น ว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามค� ำร้องขอของส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา และในมาตรา ๕๑ ในกรณีผลประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐาน ที่ก� ำหนด ให้ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดท� ำข้อเสนอแนะการปรับปรุง แก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขในระยะเวลาที่ก� ำหนด หากมิได้ด� ำเนินการ ดังกล่าว ให้ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อด� ำเนินการให้มี การปรับปรุงแก้ไข เป็นที่น่าสังเกตว่ากฎหมายได้บัญญัติไว้ชัดเจนไม่ให้ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษามีอ� ำนาจสั่งการสถานศึกษา การสั่งการต้องเป็นไปตามอ� ำนาจของต้นสังกัด ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจะต้องรายงานให้ต้นสังกัดเป็นผู้ด� ำเนินการตาม สายบริหารเท่านั้น กล่าวคือ โดยกฎหมายองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาไม่มีอ� ำนาจ บังคับสั่งการส่วนราชการ ดร.รุ่ง แก้วแดง (๒๕๕๐) ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดในการจัดตั้ง สมศ. ไว้ว่า “ในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส� ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในขณะนั้น คือ ส� ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยนโยบายและวางแผนการศึกษาของชาติ จึงได้ท� ำการศึกษา และวิจัย ในประเด็นเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และพบว่า ระบบการศึกษาไทยหากน� ำไป เปรียบเทียบกับการศึกษานานาชาติ และการบริหารของภาคเอกชนแล้ว มีจุดอ่อนอย่างมากในเรื่องการ บริหาร การควบคุมคุณภาพ และการประเมินผลการศึกษาในระดับสถานศึกษา เนื่องจากผู้บริหารไม่ได้ ให้ความส� ำคัญและความสนใจเรื่องกระบวนการบริหารการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ จึงต้องศึกษาว่า จะท� ำอย่างไรเราจึงจะสามารถปรับปรุงการบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาให้ดีขึ้น ในที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนั้น เราจ� ำเป็นต้องมีระบบประเมินผลการจัดการ ศึกษาของสถานศึกษา ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาในประเทศไทย ในการจัดท� ำร่าง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้มีการน� ำแนวคิดเรื่อง การประกันคุณภาพและการประเมินคุณภาพ การศึกษา บรรจุไว้เป็นหนึ่งหมวดในกฎหมายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะก� ำหนดให้การประกันคุณภาพ ภายในเป็นหน้าที่ของสถานศึกษากับต้นสังกัด เพราะเป็นเรื่องส� ำคัญยิ่งต่อการสร้างวัฒนธรรมการบริหาร สถานศึกษาให้มีคุณภาพ และสถานศึกษาทุกแห่งรับการประเมินภายนอกทุก  ๆ ๕ ปี จากส� ำนักงานที่จะ จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ ส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=