วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การย้อนพิ นิ จการบริ หารจั ดการส� ำนั กงานรั บรองมาตรฐานและประเมิ นคุณภาพการศึ กษา (องค์การมหาชน) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ 200 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ด้วยเหตุผลและความจ� ำเป็นดังกล่าว ในมาตรา ๙ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ก� ำหนดหลักการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาได้ประการหนึ่ง คือ “ให้มีการก� ำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท การศึกษา” อีกทั้งได้มีการก� ำหนดสารบัญญัติไว้ในหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพ การศึกษา จุดก� ำเนิดและความเป็นมาของส� ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สารบัญญัติตามมาตรา ๔๗ ถึง ๕๑ สรุปได้ดังนี้ คือ มาตรา ๔๗ ให้มีระบบประกันคุณภาพ การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบ ประกันคุณภาพภายนอก ระบบประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย ระบบการพัฒนาคุณภาพ ระบบการ ตรวจติดตามคุณภาพ และระบบการประเมินคุณภาพภายใน ส่วนระบบประกันคุณภาพภายนอก คือ การ ประเมินคุณภาพภายนอก เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพ ภายนอก ล้วนมุ่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การที่ต้องมีการประเมินคุณภาพ ภายนอกสถานศึกษาเป็นการสอบทาน คือ การประเมินตรวจสอบเพื่อยืนยันผลประเมินคุณภาพจากภายใน ท� ำให้ผลประเมินน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ การประเมินคุณภาพภายนอกยังเป็นกระบวนการรวมพลังจาก ภายนอกมาช่วยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และใช้เป็นกระบวนการรับรอง มาตรฐานของสถานศึกษาด้วย มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน โดยถือว่า การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องด� ำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดท� ำรายงานประเมินตนเองเป็นรายงานประจ� ำปี เพื่อน� ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการ ศึกษา และรองรับการประเมินภายนอก มาตรา ๔๙ ถึง ๕๑ เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอก มาตรา ๔๙ ให้มีส� ำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ท� ำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ และวิธีประเมินคุณภาพภายนอก ท� ำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพ สถานศึกษา โดยค� ำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย ๑ ครั้ง ทุก ๕ ปี ตั้งแต่การประเมิน ครั้งสุดท้าย และเสนอผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน มาตรา ๕๐ สถานศึกษาทุกแห่งต้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=