วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

199 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.สมหวั ง พิ ธิ ยานุวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ต้องการให้ “บัณฑิต” เป็น “นักการเมือง” อีกกลุ่มหนึ่ง คือ คุณภาพประชาชน โดยยกคุณภาพ ด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ต�่ ำกว่า ๑๒ ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชน ให้ทัดเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว (วิจิตร ศรีสอ้าน, ๒๕๔๗) โดยทั่วไปกิจการใดก็ตามที่เป็นกิจการการผลิตหรือการให้บริการจะต้องมีมาตรฐานที่ก� ำหนด และ จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนและบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุมาตรฐาน รวมทั้งมีการติดตามและประเมินว่า ท� ำได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ก� ำหนดหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้มาตรฐานจะพัฒนาสู่มาตรฐานได้อย่างไร ถ้าได้ มาตรฐานแล้วจะท� ำอย่างไรในการยกคุณภาพและมาตรฐานให้สูงยิ่งขึ้น ในทางการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เราจ� ำเป็นต้องก� ำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติ ดังที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรฐานการศึกษาของชาติ ๓ มาตรฐาน ๑๑ ตัวบ่งชี้ เพื่อด� ำเนินการก� ำหนดมาตรฐานการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา ต่อไป และเมื่อจัดการศึกษาแล้วเราต้องประเมินว่า เราจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา ได้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ก� ำหนดหรือไม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ถ้าเราต้องการให้การศึกษาเป็นปัจจัยของการพัฒนาทั้งปวงแล้ว เรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานับ เป็นเรื่องส� ำคัญทีเดียว ในการปฏิรูปการศึกษามุ่งให้การบริหารจัดการเพื่อผู้เรียนให้ได้มาตรฐานโดยยึดเอกภาพเชิง นโยบายแต่หลากหลายการปฏิบัติเป็นการกระจายอ� ำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมุ่งหวังให้สถานศึกษาเข้มแข็ง เพื่อก่อให้เกิดคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเฉพาะคุณภาพของผู้เรียนทั้งความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการฐาน กรมเป็นระบบบริหารจัดการฐานโรงเรียน (School-Based Management: SBM) และการเปลี่ยนแปลง ระบบการเรียนรู้จากการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลางเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส� ำคัญ ระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนเป็นระบบและกลไกในการปฏิรูปการศึกษา คือ การปฏิรูปการบริหารจัดการ ฐานโรงเรียนและการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส� ำคัญประสบความส� ำเร็จจะช่วยให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง เป็นหลักประกันเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาและคุณภาพการศึกษา ตามมาตรา ๔๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ก� ำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย อีกทั้งระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อผู้เรียน โดยเฉพาะระบบประกันคุณภาพภายนอกจะเป็นการระดมสรรพก� ำลังจากภายนอกมาช่วย พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อันจะน� ำไปสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อทุกคน การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเงื่อนไขที่จ� ำเป็นยิ่งต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการศึกษาที่มีคุณภาพเท่านั้นที่จะท� ำให้ประเทศไทยวิวัฒน์มั่นคงสถาพร ร่วมมือกันและแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=