วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 192 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 สื่อ คือท่อที่ห่อหุ้มสารให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งและยาวไกล เป็นตัวที่น� ำสัญญะทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาไปถึงประชาชนทั้งวงแคบและวงกว้าง สมัยพุทธกาลบุคคลเป็นสื่อหลัก เรียกว่าการสื่อสาร ระหว่างบุคคล (Personal Communication) บุคคลคือผู้ส่งสาร และเป็นผู้รับสาร ซึ่งเมื่อรับสารไปแล้วก็ น� ำไปจดจ� ำ ท่องจ� ำ และถ่ายทอดให้บุคคลอื่น บุคคลเมื่อรับฟังแล้วก็น� ำไปใคร่ครวญ พูดคุยกับตัวเอง และ ท่องจ� ำสิ่งที่ได้ยินมาก็เรียกว่าการสื่อสารภายในตัวเอง (Intra-Personal Communication) และพร้อมจะ ถ่ายทอดต่อไป สื่อจารีตสมัยพุทธกาลน่าจะได้แก่ ดนตรี เพลง นาฏกรรม แต่ไม่ค่อยมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ เมื่อเกิดอักษรเขียนได้เกิดการบันทึกเรื่องเล่าด้วยตัวเขียนท� ำให้พุทธศาสนา แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เรื่องเล่ามักถูกบันทึกไว้ในวัสดุที่เปราะบางและง่ายต่อการถูกท� ำลาย เช่น เปลือกไม้เบิร์ช และใบไม้ เช่น ใบลาน คัมภีร์ในเอเชียกลางถูกรักษาไว้ได้ด้วยอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทราย แต่ส� ำหรับประเทศที่ อากาศร้อนชื้นอย่างในประเทศไทยคัมภีร์ถูกท� ำลายไปเป็นอันมาก สื่อที่คงทนที่สุดคืออักษรและภาพที่ถูก จารึกไว้บนศิลา โลหะ อิฐดินเผา เรื่องเล่าบนวัตถุที่ยังหลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ได้ถูกถ่ายทอดต่อไปยังสื่อสาร มวลชนและเทคโนโลยีแห่งยุคปัจจุบัน ผู้รับสาร เวลาที่แตกแยกเป็นชิ้นส่วนท� ำให้ผู้รับสารในแต่ละช่วงเวลามีโอกาสที่จะได้รับข่าวสารที่แตกต่างกัน ยิ่งเวลาห่างกันมากแม้จะอยู่ในสถานที่เดิมข่าวสารนั้น ๆ ก็มักจะผิดเพี้ยนไป ยกเว้นแต่ว่าสารนั้นจะ ถูกรักษาไว้อย่างแน่นหนาด้วยกฎระเบียบและวัฒนธรรมประเพณีจนไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมได้ ดังนั้น ผู้รับสารต่างพื้นที่จึงมักรับรู้เกี่ยวกับพุทธธรรมแตกต่างกัน เช่น ผู้รับสารในเอเชียกลางหลัง พุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปีย่อมรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างจากจีนสมัยราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จีนมีสภาพ สังคมการเมืองการปกครองในอีกรูปแบบหนึ่ง และนิกายที่แพร่เข้าไปในจีนนั้นส่วนใหญ่เป็นมหายานที่ ถูกขยายความไปมากแล้ว ๘  นอกจากนั้น เวลายังท� ำให้หลายความเชื่อเคลื่อนย้ายเข้าไปปะปนกัน เช่น ยุคทวารวดีมีความปะปนกันระหว่างพุทธเถรวาท พุทธมหายาน พราหมณ์ และฮินดู ความเชื่อเหล่านี้มัก แข่งขันกัน ผลัดกันรุกผลัดกันรับอีกด้วย ตลอดเวลาที่ผ่านไป พระพุทธศาสนายังวิวัฒน์ต่อไปได้ตราบเท่าที่ยังมีผู้สดับฟังพระธรรมของ พระพุทธเจ้า ผู้รับสารเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็นชั้นวรรณะ ผู้รับสารที่เป็นชนชั้นสูงมักเป็นผู้ชี้น� ำ ๘ ดู ชนิดา จันทราศรีไศล, ร่องรอยธรรมกายในเอเชียกลาง, DIRI, 2557

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=