วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 190 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา อธิษฐานคือการตั้งความมุ่งหวังให้ส� ำเร็จผล ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งความปรารถนาไว้ ค� ำอธิษฐานสะท้อนการมองโลกและชีวิตว่ามีการเวียนว่ายตาย เกิด หมุนเวียนไปตามผลแห่งกรรมดีและชั่ว การอธิษฐานหลังจากการสร้างบุญถือเป็นการตั้งสัจจะและ วางเข็มทิศของชีวิตไปในเป้าหมายที่ตนต้องการ ค� ำอธิษฐานปรากฏในค� ำกรวดน�้ ำของไทยโบราณ และ ในอดีตกาลผู้เฒ่าผู้แก่มักสอนบุตรหลานของตนให้อธิษฐานไปพบพระศรีอารย์ ทั้งนี้ผู้ที่อธิษฐานต้องตั้งจิต ให้มั่นคงเพื่อสัมฤทธิผลของการอธิษฐานนั้น นี้เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวพุทธ เป็นส่วน ของจักรกลที่ผลักดันกระบวนการสื่อสารพุทธศาสนาให้เคลื่อนไป แต่ค� ำอธิษฐานโบราณเหล่านี้ในเวลา ต่อมามักถูกแปรสภาพให้ต�่ ำลงเป็นการบนบานศาลกล่าวและขอวัตถุมากกว่าความหลุดพ้น บทสรุปและอภิปรายผล จากการวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารยุคโบราณจะเห็นลักษณะพลวัต (dynamic) ของพระพุทธ ศาสนาในช่วงระยะเวลา ๒,๐๐๐ กว่าปี มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาคล้ายการขับเคลื่อนของ เครื่องจักร กล่าวคือ ตัวเครื่องจักรนั้นมีผู้ส่งสาร สาร ช่องสาร และผู้รับสาร ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา เหมือนเครื่องจักรก� ำลังเดินผ่านเวลา (time) และพื้นที่ (space) ๑. กระบวนการสื่อสารพุทธศาสนา ประกอบด้วยผู้ส่งสาร ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสาร ผู้ส่งสาร (Communicator/Source) พระพุทธองค์ทรงเป็นต้นกระแสธารแห่งพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้น� ำทางจิตวิญญาณ เป็น ผู้ชนะมาร เป็นผู้ประกาศพระสัทธรรมซึ่งยังมีผู้จดจ� ำหรือบันทึกไว้จนได้เรียนรู้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน เรื่องราวแห่งอดีตเกี่ยวกับพระองค์ ตลอดจนพระสงฆ์สาวกและพระราชาที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ ได้ถูกชาวพุทธน� ำมาประกอบสร้างเป็นเรื่องเล่าในรูปแบบต่าง ๆ  โดยพระสงฆ์มีบทบาทในการช่วยสั่งสอน ประชาชน หลายท่านเป็นผู้รู้ แตกฉานในคัมภีร์ เป็นผู้ประพันธ์ที่จดจารึกพระธรรมลงบนเปลือกไม้บ้าง บนแผ่นหินบ้าง หลายท่านได้แปลคัมภีร์ออกมาเป็นภาษาต่าง ๆ ท� ำให้พุทธศาสนาขยายออกไปกว้างไกล หลายท่านสร้างวรรณกรรมทางพุทธศาสนา พระภิกษุคือกลุ่มบุคคลที่มีความส� ำคัญยิ่ง เพราะท่านคือ นักเดินทางจาริกแสวงบุญที่เข้าเยี่ยมเยือนสถานที่ส� ำคัญทางพุทธศาสนาแล้วจดบันทึกเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ไว้ แต่พระผู้รู้เหล่านี้ไม่ได้มีความเห็นเกี่ยวกับค� ำสอนที่ต้องตรงกันทั้งหมด การแตกสาย แตกส� ำนักจึงเกิดขึ้นในที่สุด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=