วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
9 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ (๔) ส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรี บางชุมชนสามารถทอผ้าเป็นอาชีพที่เป็นรายได้หลักให้แก่ครอบครัวได้ เช่น สมาชิก กลุ่มศิลปาชีพบ้านหนองอ้อ อ� ำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้ประกอบอาชีพทอผ้าอย่างเป็นล�่ ำ เป็นสัน เป็นการส่งเสริมความส� ำคัญของบทบาทสตรีในการประกอบอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว เช่นเดียวกับผู้ชาย ซึ่งบางคนยังเข้ามาช่วยในกิจกรรมการทอผ้าด้วย เช่น ช่วยท� ำกี่ เลี้ยงไหม เป็น การเปลี่ยนค่านิยมและความเชื่อของสังคมในอดีตที่เคยยึดถือว่า การทอผ้าเป็นงานของสตรีเท่านั้น และ มีข้อห้ามว่าผู้ชายไม่ควรจับกี่ทอผ้า นอกจากนี้ สตรีม่ายยังสามารถยึดอาชีพทอผ้าเลี้ยงชีพได้ จะเห็น ได้จากโครงการศิลปาชีพบ้านโคกสะอาด อ� ำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม มีผู้ประกอบอาชีพส่วนหนึ่ง เป็นแม่ม่ายที่สามารถหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ตามล� ำพัง (๕) ลดปัญหาของสังคมโดยรวม เมื่อราษฎรมีอาชีพเสริมที่เลี้ยงครอบครัวโดยท� ำงานในชุมชนของตนได้ ก็ไม่จ� ำเป็นต้อง จากบ้านไปหางานที่อื่นโดยไม่มีจุดหมายที่แน่นอนดังในอดีต เป็นการลดปัญหาการอพยพเข้าเมืองใหญ่ เช่น นายทองพัน สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า “ช่วยเหลือคนยากจน คนตกงาน ไม่ต้องไปกรุงเทพฯ” ๑๒ และนางสาวหอมหวน สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพแห่งเดียวกัน กล่าวว่า “ไม่ไปท� ำงานที่อื่น เพราะท� ำงานที่นี่ดีแล้ว ” ๑๓ การพระราชทานอาชีพเสริมให้กับราษฎรดังกล่าว ช่วยให้ชาวบ้านในโครงการ มีงานท� ำในชุมชนของตน โดยไม่ต้องอพยพไปขายแรงงานที่อื่น นอกจากนี้ การจัดตั้งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพหรือศูนย์ศิลปาชีพในบางแห่ง เช่น ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร อ� ำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านมีงานท� ำโดยไม่ต้องเข้าป่า เพื่อตัดต้นไม้อันจะเป็นการท� ำลายป่าต้นน�้ ำล� ำธาร ดังนั้น การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานอาชีพให้แก่ราษฎรบ้านจารก็เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนอื่น ๆ ว่า แม้ไม่ตัดไม้ท� ำลายป่า ก็สามารถด� ำรงชีพอยู่ได้โดยมีอาชีพเสริมทางด้านศิลปหัตถกรรมตามแนวพระราชด� ำริ นับเป็นการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป ๒. การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับราษฎร การส่งเสริมการทอผ้าอีสานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นการสร้าง สายสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับราษฎร ดังเห็นได้จาก ๑๒ สัมภาษณ์นายทองพัน สมาชิกกลุ่มศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร ณ อ� ำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ๑ เมษายน ๒๕๓๕. ๑๓ สัมภาษณ์นางสาวหอมหวล สมาชิกกลุ่มศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร จังหวัดสกลนคร ๑ เมษายน ๒๕๓๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=