วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 188 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๓.๗.๒ การดึงเรื่องเล่าไปเป็นของตัว หรือสร้างเรื่องขึ้นมาใหม่ ลัทธิมานี (Manichaeism) เกิดขึ้นหลังพุทธศาสนาราว ๗๐๐ ปี ชายคนหนึ่งชื่อ เทเรบินทัส (Terebinthus) แห่งบาบิโลน (Babylon) ประกาศว่าตนเป็นพระพุทธเจ้า เผยแพร่ลัทธิ ของตนต่อพวกมานี (Mani) และเป็นฐานที่ท� ำให้เกิดลัทธิมานีในเวลาต่อมา หลักใหญ่ ๆ ของลัทธิมานี คือ หลักพหุภาวะ (dualism) มานีกล่าวถึงธรรมสภาวะ ๒ ประการที่มีอยู่ตั้งแต่เริ่มแรก คือ แสงสว่าง และความมืด อาณาจักรแห่งแสงสว่างให้สันติภาพ ในขณะที่อาณาจักรความมืดให้ความขัดแย้งตลอดกาล จักรวาลนี้คือผลของการที่ความมืดเข้าโจมตีแสงสว่าง จากนั้นจักรวาลก็ถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือของ “พระจิต” (Living Spirit) ซึ่งเป็น “ไอระเหย” ของภาคแสงสว่างซึ่งปะปนกันอยู่กับภาคมืด ความเชื่อหลักของลัทธิมานี คือ ไม่มีพลังดีสูงสุด เพราะแสงสว่างกับความมืดมีอ� ำนาจเท่ากัน มนุษย์คือสนามรบของสองอ� ำนาจนี้ ส่วนดีคือ “วิญญาณ” (soul) ซึ่งถูกประกอบสร้างขึ้นจากแสงสว่าง ส่วนเสียคือ “ร่างกาย (body) ซึ่งถูกประกอบสร้างจากดินสีด� ำ วิญญาณนั้นแม้จะดีแต่ถูกควบคุม โดยพลังจากภายนอก ซึ่งก็คือมาร (Evill) มนุษย์จะรอดได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าตัวเป็นใคร และเข้าไปเป็นหนึ่งเดียว กับวิญญาณ มานีเคยเดินทางเข้าไปในอาณาจักรกุษาณ (ดูได้จากภาพเขียนทางศาสนาที่บามิยัน) และเขา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา เช่น เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และเรื่อง “บริษัท ๔” ที่เอาไปใช้ในสาวกของ มานี ๗ สาวกของมานีเขียนถึงมรณกรรมของมานีว่าเป็นการ “ปรินิพพาน” และคนรุ่นหลังบางครั้งเรียกเขาว่า “พระมานีพุทธเจ้า” ลัทธิมานีแผ่ กระจายออกไปอย่ างรวดเร็วทั้งทางตะวันตกและตะวันออกระหว่ าง ค.ศ. ๓๐๐-๕๐๐ โดยไปถึงโรมเมื่อ ค.ศ. ๒๘๐ และอียิปต์ในเวลาใกล้ ๆ กันซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับ การแผ่ขยายของศาสนาคริสต์เมื่อ ค.ศ. ๓๕๔ ฮิลารีแห่งพัวตีเย (Hilary of Poitiers) เขียนหนังสือระบุว่า ลัทธิมานีเป็นศาสนาหลักในฝรั่งเศสตอนใต้ ๓.๗.๓ สงครามสยบเรื่องเล่า สยบกระบวนการสื่อสารพุทธศาสนา หลังพุทธปรินิพพาน การรุกรับเพื่อเป็นเจ้าทางศรัทธาด� ำเนินสืบต่อกันอย่างยาวนานมาก ในชมพูทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้ระหว่างพุทธกับพราหมณ์และฮินดู แต่คราวนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ การโต้วาทะและการแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ใช้อ� ำนาจทางการทหารเป็นเครื่องมือปราบปราม พระเจ้าอโศกสวรรคตไปแล้วราว ๕๐ ปี กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์เมาริยะคือพระเจ้า Brhadrata ถูกแม่ทัพปุสยมิตร สังกะ ปราบดาภิเษกแล้วตั้งราชวงศ์สังกะ (๑๘๕-๗๓ ปีก่อนคริสต์ศักราช ๗ Richard Foltz, Religions of the Silk Road.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=