วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 186 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ก็ยังมีความเชื่อด้านวิญญาณนิยมและพุทธศาสนาแบบมหายานเจือปนอยู่ด้วย กษัตริย์ของอยุธยาก็ยังใช้ พิธีกรรมที่เป็นฮินดูและพราหมณ์ในการสร้างอ� ำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการผสมผสานระหว่างหลัก “ธรรมราชา” กับ “เทวราชา” และการผสมผสานของเรื่องเล่า ๓.๖ จุดจับใจในเรื่องเล่า ๓.๖.๑ อิทธิฤทธิ์และอภินิหาร เรื่องเล่าเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์และอภินิหาร เป็นสิ่งที่จับใจมนุษย์ปุถุชนทั่วไปไม่ว่าจะชนชั้น วรรณะใดและเชื้อชาติใดยุคใด ในสมัยพุทธกาลถึงกับมีการแข่งขันแสดงอิทธิฤทธิ์ และเมื่อหลังพุทธ ปรินิพพานเรื่องเล่าเกี่ยวกับคุณลักษณะเหนือโลกของพระพุทธองค์ก็ถูกเล่าขานต่อ ๆ กันไปจากรุ่นสู่รุ่น แม้พระสงฆ์สาวกของพระองค์ก็มีการแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วย สมัยพุทธกาลในระดับของ “ผู้รู้” นั้น แต่ละความเชื่อต่างก็ตั้งส� ำนัก มีลูกศิษย์ของตน หลายเจ้าส� ำนักตั้งตนเป็นอรหันต์ ถ่ายทอดปรัชญาและแสดงศักดาภินิหาร ยิ่งมีสาวกมากก็ยิ่งมีผู้สักการบูชา มาก ต่างก็ส� ำแดงความเก่งกล้าสามารถของเจ้าลัทธิให้เป็นที่ประจักษ์ ไม่ว่าจะด้วยคารม การทรมานตน และอิทธิปาฏิหาริย์ บ้างก็ประกาศตนเป็นพระอรหันต์ ตั้งตนเป็นศาสดา บ้างก็เป็นผู้ทรงฌานสมาบัติ “ผู้รู้” เหล่านี้นอกจากสามารถสื่อสารด้วยวาทะเป็นที่น่าประทับใจแล้ว ยังมีคุณลักษณะของผู้วิเศษซึ่งเป็น สิ่งจ� ำเป็นในการสร้างความประทับใจแก่มหาชน ท� ำให้ในพระไตรปิฎกปรากฏการประลองอิทธิปาฏิหาริย์อยู่ บ่อย ๆ  ดังเรื่องของอุรุเวลากัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ ผู้ถือลัทธิบูชาไฟ มีความถือตนจนพระพุทธองค์ ต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ สมดังที่เคยทรงเปล่งอาสภิวาจาว่าท่านคือผู้สูงสุดในโลกไม่มีผู้ใดเทียบได้ ๓.๖.๒ เรื่องเล่าเกี่ยวกับภพชาติ กฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องลึกลับ เหนือธรรมชาติ มีความใกล้ตัว เพราะเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ทุกรูป ทุกนาม นิทานชาดกบอกเล่าตรง ๆ เกี่ยวกับชาติปางก่อน ๆ ของพระพุทธเจ้าในขณะเป็นพระโพธิสัตว์ และ ยังเล่าเกี่ยวกับพระสาวกทั้งภิกษุและภิกษุณี รูปสลักตามพุทธสถานบอกเล่าเรื่องราวของพระบรมโพธิสัตว์ ขณะจุติลงมาจากสวรรค์ชั้นดุสิต ชาวพุทธมีความคุ้นเคยเป็นอันดีกับเรื่องภพชาติและกฎแห่งกรรม ๓.๖.๓ เรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้ขัดขวางหรือมาร กรณีนางจิญจมาณวิกา ช้างนาฬาคีรี ชี้ให้เห็นการใช้ความรุนแรงในการโค่นล้มพระพุทธ องค์ นางจิญจมาณวิกานั้นในที่สุดถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก อีกกรณีหนึ่งคือกรณีพระเทวทัตผู้ว่าจ้าง คนเลี้ยงช้าง มอมเหล้าช้างนาฬาคิรีแล้วปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ แต่ช้างนี้ไม่อาจท� ำร้ายพระพุทธองค์ได้ด้วยพุทธเมตตา นอกจากนี้ พระเทวทัตยังว่าจ้างคน ให้กลิ้งหินจากภูเขาให้ลงมาท� ำร้ายพระพุทธเจ้าแต่ก็ไม่ส� ำเร็จอีกเช่นกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=