วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

185 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ปัญญาให้กระจายออกไป เกิดการเขียนคัมภีร์ขึ้นมามากมาย มีการประกอบสร้างเรื่องเล่าผ่านสื่อต่าง ๆ เรื่องเล่าที่มีจุดจับใจมาก หรือสนุกสนานบันเทิงมากได้แพร่หลายผ่านกาลเวลาและสถานที่ บางครั้งเป็น กระแสหลักของสังคม บางครั้งเป็นกระแสรอง บางครั้งถึงกับถูกท� ำลายหายไปด้วยความรุนแรงและสงคราม เมื่อพระพุทธศาสนาเดินทางจากอินเดียสู่สุวรรณภูมินั้นมาเป็นระลอก มีหลายนิกายที่เดินทาง มาถึง ไม่ว่าจะเป็นเถรวาท สรวาสติวาท ธรรมคุปตะ มหายาน และอื่น ๆ  ในขณะเดียวกัน ศาสนาใหญ่ อย่างพราหมณ์-ฮินดูก็เข้ามาด้วย แน่นอนว่าเมื่อผู้ปกครองนับถือศาสนาใดศาสนานั้นก็จะเฟื่องฟู ครั้นเมื่อ พระราชานั้นหมดอ� ำนาจ ความเชื่อนั้นก็เสื่อมลงด้วย ผลัดกันรุกผลัดกันรับอยู่เช่นนี้โดยมีพุทธเถรวาทเป็น แกนหลักซึ่งบางครั้งอาจจะถูกกลบอยู่ใต้กระแส บางครั้งอาจขึ้นมาสู่สิทธิอ� ำนาจอันยิ่งใหญ่ในราชอาณาจักร ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การเข้ามาถึงก่อน การอุปถัมภ์อย่างยาวนาน ของผู้ปกครอง การถ่ายทอดผ่านสื่อจารีต ประเพณีและวัฒนธรรม อินเดียกับการเข้าครอบครองศรัทธาด้วยสงคราม เอเชียอาคเนย์โบราณนั้นเป็นประดุจดาวเคราะห์ที่หมุนรอบดวงอาทิตย์คือชมพูทวีป การก่อตัว ของอ� ำนาจทางการเมืองและศาสนาในอินเดียมักมีอิทธิพลต่อการเมืองและศาสนาของเอเชียอาคเนย์ ด้วย อาศัยการเชื่อมต่อโดยเส้นทางคมนาคมหลักคือเส้นทางสายไหมหลักและย่อยทั้งทางบกและ ทางทะเล ระบบไปรษณีย์ม้าเร็วช่วยให้การสื่อสารเร็วขึ้น ส่วนทางทะเลนั้น เกิดปรากฏการณ์ส� ำคัญคือ ใน พ.ศ. ๖๐๐-๑๐๐๐ ชาวอาหรับและอินเดียค้นพบการสร้างเรือขนาดใหญ่ซึ่งใช้ลมน� ำทางท� ำให้สามารถ เดินทางข้ามมหาสมุทรได้ อินเดียซื้อขายทองค� ำอย่างแพร่หลาย และมุ่งสู่สุวรรณภูมิเพื่อซื้อขายทองค� ำ การค้าเจริญรุ่งเรืองและท� ำให้เกิดการเติบโตของชุมชนขนาดใหญ่ ได้แก่ อู่ทอง นครปฐม สุพรรณบุรี และ ต่อมาคือ อโยธยา ชาวอินเดียเดินทางมาสู่สุวรรณภูมิด้วยหลายจุดหมาย บ้างก็เพื่อการค้า บ้างก็เพราะการ อพยพของชนชั้นปกครองที่ประสบปัญหาแย่งชิงอ� ำนาจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ชนชั้นปกครอง เหล่านี้นับถือศาสนาต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับยุคสมัยและศรัทธาของราชวงศ์ตน เมื่อบุกรุกเข้ามาในดินแดนที่ เจริญน้อยกว่าก็น� ำความเชื่อของตนเข้ามาด้วย ทั้งพุทธมหายาน พราหมณ์ และฮินดู เข้ามาปะทะสังสรรค์ กับพุทธศาสนาหินยานและการนับถือภูตผีวิญญาณ ผลัดกันรุกผลัดกันรับตลอดมา แต่หลังจากการรุกคืบของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์อินเดียเสื่อมสลาย อิทธิพลของพุทธมหายาน พราหมณ์ และฮินดูในสุวรรณภูมิก็ลดถอยลง เปิดทางให้พุทธเถรวาทที่เป็นกระแสรองให้ได้เติบโตขึ้นมาใหม่ อย่างเห็นได้ชัด โดยใน พ.ศ. ๑๖๙๖ สยามได้นิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาเผยแผ่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ณ เมืองนครศรีธรรมราช และหลังจากนั้นก็มีการเชื่อมต่อกับพุทธศาสนาเถรวาทจากศรีลังกาเรื่อยมา ข้อที่น่าสังเกตคืออาณาจักรอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐ นับถือพุทธศาสนาแบบหินยาน แต่ในขณะเดียวกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=