วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

183 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เรื่องราวของพระเวสสันดรปรากฏในจิตรกรรมทางพุทธศาสนามาแต่ โบราณ ภาพวาด พระเวสสันดรเสด็จจากเมืองสีพีปรากฏในภาพจากมิราน เอเชียกลาง เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ศิลปะคันธาระ ๔ ในอชันตามีภาพเขียนสีตามฝาผนังในถ�้ ำที่ ๑๗ แม้อายุ ๑,๕๐๐ ปีมาแล้วยังชัดเจน ในประเทศไทยปรากฏใบเสมาหลักที่ ๔ (วัดบ้านคอนสวรรค์) สลักภาพพระเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี มีจารึกเป็นอักษรสมัยหลังปัลลวะ ภาษามอญโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ วัดนี้ตั้งอยู่ที่ ต� ำบลคอนสวรรค์ อ� ำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ส� ำหรับมหาเวสสันดรชาดกนี้ในประเทศไทยปัจจุบัน เป็นที่นิยมมาก ถูกน� ำมาร้อยเรียงผ่านสื่อต่าง ๆทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง สื่อพื้นบ้านน� ำไปขับร้องเป็นหมอล� ำ เทศน์แหล่มหาชาติ และอื่น ๆ อีกมาก ๓.๔ ความต่อเนื่องของสารและการผลิตซ�้ ำโดยคงของเดิมไว้ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม นาฏกรรม เป็นพื้นฐานของการเล่าเรื่องในรูปแบบต่าง ๆ  ที่ปรับแปลงทั้งเนื้อหาและรูปแบบการน� ำเสนอไปเรื่อย ๆ ตามวิวัฒนาการแห่งยุคสมัย ถือได้ว่าเป็นการ “แปลงโฉม” เรื่องเล่าให้สามารถยืนหยัดอยู่ในสติปัญญาและจิตวิญญาณของผู้คน การที่เรื่องเล่าจะเป็นจักรกลที่ขับเคลื่อนกระบวนการสื่อสารพุทธศาสนาได้จะต้องมีความต่อเนื่อง อาจจะมีการสะดุดยุติลงในบางเวลา แต่ก็มักจะมีการขับเคลื่อนต่อไปได้อีก ในบางพื้นที่เรื่องเล่าอาจจะยุติ ลงเนื่องจากไม่มีการนับถือพุทธศาสนาในที่นั้นอีกต่อไป แต่เรื่องเล่าก็ยังสามารถไปเติบโตได้อีกในดินแดนอื่น ความต่อเนื่องของเรื่องเล่า จะยกกรณีต่าง ๆ ดังนี้ ก. ภาพสลักเรื่องเทวดาอัญเชิญพระโพธิสัตว์จากสวรรค์ชั้นดุสิต หินสลักแบบสาญจีสมัยสุงคะ พ.ศ. ๔๐๐-๕๐๐ ปรากฏภาพเทวดาพากันเข้าไปอัญเชิญ พระโพธิสัตว์ให้เสด็จจุติลงมาบังเกิดเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในมนุษยโลก หินสลักแบบสาญจีนั้นนิยมใช้ แท่นว่างเฉย ๆ เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ ภาพแกะสลักที่บามิยัน ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดี ศาสตราจารย์ตาซีร์ (Tazir) ประมาณ พ.ศ. ๔๐๐-๕๐๐ มีต้นไม้ ๓ ต้นอยู่ข้างหลัง ขณะที่เทวดาก� ำลังอัญเชิญพระโพธิสัตว์ลงมาจุติ ภาพแกะสลักเล่าเรื่องพระโพธิสัตว์ในชั้นดุสิตที่บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ภาพการทูลเชิญพระโพธิสัตว์ ลงมาจุติและสุบินนิมิตของพระนางสิริมหามายา วัดเขาดีสลัก จังหวัดสุพรรณบุรี พระอินทร์และเหล่าเทวดาทูลเชิญพระสันดุสิตเทวราชบนสวรรค์ชั้นดุสิตให้ จุติมายังโลก มนุษย์ และพระนางสิริมหามายาทรงสุบินนิมิตว่ามีช้างเผือกมาเข้าสู่อุทรเบื้องขวา อันแสดง ๔ P. Banerjee, The Vessantara Jataka from Central Asia.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=