วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 182 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๓.๓ สารที่เป็นหลัก สารหลักส่วนใหญ่เป็นสารประเภทวรรณกรรม กวีนิพนธ์ ที่โดดเด่นคือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็น วรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยพระราชด� ำริในพระยาลิไท รวบรวม จากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น ๓ ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติความเชื่อของชาวไทย เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่าย ตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป) ระยะเวลากัปกัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ไตรภูมิพระร่วง มีบทบาทยิ่งในทางการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยได้ ปลูกฝังอุดมการณ์ ความเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว จะเห็นได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ และ ภาพจิตรกรรมในสมุดไทยหรือหนังสือใบลาน การสร้างปราสาทราชวังเป็นชั้นในชั้นนอก การสร้าง พระเมรุมาศเป็นลักษณะเขาพระสุเมรุ เหล่านี้ล้วนเป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลแนวความคิดจาก ไตรภูมิกถาทั้งสิ้น โดยอาจกล่าวได้ว่า วรรณกรรมชิ้นนี้มีบทบาทในการปลูกฝังค่านิยมทางศาสนาให้แก่คนไทย อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่ออุดมการณ์ทางการเมืองในระบบการปกครองของไทยอีกด้วย ๓ นิทานชาดก หมายถึง เรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุ ในโอกาสต่าง ๆ บางครั้งก็เพื่อแสดงภูมิหลังของผู้ที่พระองค์ต้องการให้ฟังธรรม บางครั้งก็เพื่ออธิบาย เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น คนยุคหลังได้น� ำมาผูกขึ้นเป็นวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น มหาเวสสันดรชาดก ทศชาติชาดก บ้างก็น� ำมาแต่งเป็นบทเพลงพื้นบ้าน บทกวี นิทานชาดกปัจจุบันถูก น� ำมาปรับแต่งให้เหมาะสมแก่การสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนเด็ก เป็นนิทานอิงคุณธรรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาง่าย ๆ อาจจะมีการเขียนการ์ตูนประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ปัจจุบันมีการน� ำลง Youtube ด้วย เนื้อหาปรับแต่งไปตามความนิยมของยุคสมัย มหาเวสสันดรชาดกเป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของ พระโพธิสัตว์ในการบ� ำเพ็ญทานบารมี ทรงบริจาคช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลให้แก่แคว้นกาลิงคะ ที่ส่งทูตมาขอ ท� ำให้ทรงถูกเนรเทศจากเมืองพร้อมพระมเหสีและพระโอรสธิดา เรื่องราวด� ำเนินไปถึง ทรงบริจาคกัณหาชาลีแก่ชูชก ประทานพระนางมัทรีแก่พระอินทร์แปลง แต่ในท้ายที่สุดก็ได้กลับบ้านเมือง สืบต่อพระราชสมบัติต่อไป ๓ ดู Craig Reynolds, “Buddhist Cosmography in Thai History, with Special Reference to Nineteenth-Century Culture Change” (1976) .
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=