วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 180 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และเส้นเขตแดนได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา พระปุณณะถูกระบุว่าเป็น ตัวเอกในเรื่องเล่าของพริบพรี (เพชรบุรีของไทย) และของมอญด้วย ๒. สื่อศาสนา การเล่าเรื่องในพระพุทธศาสนาผ่านสื่ออาจเล่าด้วยอวัจนภาษา คือผ่านสื่อสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ภาพแกะสลัก เครื่องปั้น และเล่าด้วยวัจนภาษาคือลายลักษณ์อักษร เมื่อเล่าเรื่องศาสนาจึงจัดได้ว่าเป็นสื่อ ศาสนา สื่อศาสนาปรากฏอยู่ในการสื่อสารระหว่างบุคคล สื่อร่วมสมัย และการสื่อสารผ่านสื่อจารีตประเพณี สมัยโบราณที่มีการสื่อสารระหว่าง บุคคล เป็นหลัก ครอบครัวและวัดมักเป็นแหล่งพบปะของคนในชุมชน พระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอดพระธรรมค� ำสั่งสอน เป็นผู้ให้ค� ำปรึกษาในการด� ำรงชีวิต เป็นผู้ได้รับการยอมรับนับถือ อย่างสูงสุด ท่านเหล่านี้จารึกค� ำสอนและเรื่องเล่าลงในสื่อร่วมสมัยของท่าน ได้แก่ ใบลาน และเปลือกไม้ แกะสลักลงไปในเนื้อหิน ปูน และเนื้อไม้ แม้แต่ผนังถ้าก็เป็นสื่อศาสนาที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ  รวมทั้ง ได้มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมทางศาสนา ได้แก่ โบสถ์ วิหาร ส� ำนักสงฆ์ ศาลา เจดีย์ และ รูปเคารพอีกเป็นอันมาก สื่อร่วมสมัยเหล่านี้จะเปลี่ยนไปตามอารยธรรมของมนุษย์ ส่วน สื่อจารีตประเพณีซึ่งหมายรวมถึงสื่อพื้นบ้านด้วย ได้แก่ วรรณกรรมพวกบทขับล� ำน� ำ โศลก นิทาน นาฏกรรม และดุริยางคศิลป์ ได้แก่ ละคร ท่าร้องร� ำ เพลง เป็นสิ่งที่ยึดถือจารีตประเพณีให้ มั่นคงถาวรและถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งจารีตนี้ไปสู่ลูกหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพยากต่อการยึดครอง โดยอ� ำนาจฝ่ายตรงข้ามและมีลักษณะเฉพาะในแต่ละชุมชน ยิ่งอยู่ห่างไกลกันความแตกต่างก็ยิ่งสูงขึ้นด้วย แม้กระนั้น ในระดับแนวนอนศาสนาสามารถแทรกตัวลงไปในสื่อเหล่านี้ท� ำให้สามารถข้ามพรมแดนไปได้ อย่างกว้างขวาง สร้างความรู้จักมักคุ้นแก่ศาสนาโดยมีสื่อบุคคลเป็นผู้อรรถาธิบายประกอบ ๓. สาร สารพระพุทธศาสนา มีทั้งส่วนที่เป็นพุทธธรรมตรง ๆ เช่น พระไตรปิฎก และพระธรรมที่ ถูกรวบรวมไว้ในรูปคัมภีร์ที่กระจัดกระจายอยู่เป็นอันมากในพื้นที่ต่าง ๆ  หลากรูปแบบ หลากภาษา เป็นสาร แห่งความรู้ในพระธรรมค� ำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง เป็นที่มั่นแห่งศรัทธา แห่งมหาชนยั่งยืนนาน ส่วนที่มิใช่พุทธธรรมตรง ๆ  ก็คือเรื่องเล่าในรูปแบบนิทาน ต� ำนาน เป็นส่วนประกอบ ที่อธิบายขยายความพุทธธรรม ขยายประวัติพระพุทธศาสนาและพระพุทธประวัติ ตลอดจนประวัติของ พระสาวกผู้เป็นแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร เราไม่สามารถแยกสาร ๒ ชนิดออกจากกันได้โดยเด็ดขาดเนื่องจาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=