วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

179 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เถระ ท่านโต้วาทีกับบาทหลวงเดวิด เดอซิลวา และคณะ โต้วาทีที่เมืองปานาทุรา เป็นเวลา ๓ วัน เนื้อหา เป็นเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ลึกซึ้ง เช่น อิทัปปัจจยตา กรรม นิพพาน อนัตตา ท� ำให้ชื่อเสียง ของท่านกระจายไปไกลจนทุกวันนี้ ยังมีพระภิกษุผู้แยกส� ำนัก อันเนื่องจากความขัดแย้งทางความรู้และความเชื่อ ได้แก่ เรื่อง พระปุราณะพร้อมด้วยบริวารเดินทางมาจากทักขิณาคีรีชนบท ได้เที่ยวจาริกไปในนครราชคฤห์ พระมหากัสสปะได้เข้าไปแจ้งว่า บัดนี้ สงฆ์ได้ท� ำการสังคายนาเรียบร้อยแล้ว พระปุราณะก็กล่าวว่า ท่านได้ฟังธรรมเฉพาะพระพักตร์อย่างไรก็จะยึดถือเอาตามนั้น แสดงว่าพระพุทธองค์ทรงเทศน์สอน ตามความเหมาะสมกับสภาพภูมิธรรมของแต่ละบุคคล เรื่องเล่าจึงอาจแตกต่างกันและการเล่าเรื่องของ พระภิกษุเหล่านี้ย่อมมีเนื้อหาไปตามความรู้และความศรัทธาของท่านเหล่านั้น หลังสังคายนาครั้งที่ ๑ ยังมีการสังคายนาอีกหลายครั้งท� ำให้พุทธศาสนาแยกสายออกไป ในจ� ำนวนนี้ ยังมีท่านผู้ประพันธ์เรื่องเล่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ ท่านจารึก แปลคัมภีร์ และ สร้างวรรณกรรม พระภิกษุ หรือปราชญ์ท้องถิ่น ได้ท่องจ� ำพระธรรมและจดจารึกไว้ตามวัตถุต่าง ๆ  บ้างก็ แปลคัมภีร์เป็นภาษาที่ชาวบ้านในท้องถิ่นของตนเข้าใจ บ้างก็ช� ำระ รวบรวมพระคัมภีร์ ท� ำให้พระศาสนา แผ่ออกไปกว้างขวางมากขึ้น นามของนักวิชาการศาสนาเหล่านี้หลายท่านได้รับการยอมรับและศึกษา เล่าเรียนกันสืบมาจนปัจจุบัน เช่น งานของท่านนาคารชุน พระพุทธโฆสาจารย์ ท่านฟาเหียน ท่านพุทธภัทร ท่านธรรมเกษม ท่านชินมิตร ท่านชญานะครรภะ ท่านเทวจันทร และท่านอันซื่อกาว พระเสวียนจั้งหรือ พระถังซ� ำจั๋ง ผู้เดินทางจากจีนไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป และเขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ ด้วย ก็จัดว่าเป็นผู้ประพันธ์ซึ่งเรื่องเล่าที่มีชื่อเสียง เรื่องเล่าของท่านถูกผลิตซ�้ ำเป็นภาษาต่าง ๆ ในสื่อหลาก ชนิดตราบจนทุกวันนี้ ต� ำนานนั้นไม่ว่าผู้เล่าจะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาส เมื่อเล่าต่อ ๆ กันมาความเข้าใจบางอย่างอาจ ผิดเพี้ยน พ่อค้าวาณิช ชื่อ ตปุสสะและภาลิกะแห่งบัคเตรีย และปุณณะแห่งเมืองพริบพรี เป็นตัวเอกใน ต� ำนานเรื่องพ่อค้าที่เดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อินเดีย ได้รับฟังพระธรรมค� ำสั่งสอนแล้วได้ บวชเรียน และกลับมาเผยแผ่พระศาสนาในบ้านเมืองของตน แต่เนื่องจากความสับสนของเรื่องเล่า ท� ำให้ ตปุสสะและภาลิกะเป็นตัวเอกอยู่ในเรื่องเล่าทั้งของเอเชียกลางและอินเดีย แต่ละประเทศต่างก็ถือว่าพ่อค้า ทั้งสองเป็นคนของชาติตน ๒ โกปินาฐ โมฮันที อ้างศิลาจารึกว่า พ่อค้าทั้งสองเป็นชาวเมืองอุกกะละแห่งแคว้น โอริสสา แต่ในขณะเดียวกันก็ปรากฏหลักฐานศิลาจารึกอยู่เอเชียกลางด้วย ส่วนกรณีของพระปุณณะ ๒ Gopinath Mohanty, Dr. C. B. Patel, D. R. Pradhan & Dr. B. Tripathy in Tapassu and Bhallika of Orissa, Their Historicity and Nativity (Fresh Evidence from Recent Archaeological Explorations and Excavations)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=