วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
สมเด็ จพระนางเจ้าสิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี นาถ กั บการส่งเสริ มหั ตถกรรมทอผ้าอี สาน 8 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ได้ผ้าทอที่สวยงาม เป็นเงาเลื่อมอันเป็นลักษณะของไหมพื้นเมือง ขณะที่มีความเรียบแน่นเช่นเดียวกับ ไหมพันธุ์นอก เหตุผลข้อที่ ๒ ก็คือ ตัวไหมพันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงได้ง่ายกว่าไหมพันธุ์นอก เพราะเคยชิน กับภูมิอากาศของท้องถิ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวบ้านได้เรียนรู้วิธีเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมืองมาแต่ดั้งเดิม แล้ว และสามารถผลิตเส้นไหมได้ด้วยตนเอง และท� ำหัตถกรรมทอผ้าได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ย้อมสี และทอผ้า ดังค� ำให้สัมภาษณ์ของสมาชิกผู้หนึ่งของกลุ่มทอผ้าไหมในพื้นที่อ� ำเภอนาหว้า “ท่านชอบไหมพื้นเมือง ไม่ชอบให้ใช้ไหมอื่น ส่งเสริมให้เลี้ยงเอง ทอเอง ไม่ต้องซื้อจากที่อื่น” ๑๐ การที่ทรงส่งเสริมให้ใช้ไหมพื้นเมืองนับว่ามีความส� ำคัญมาก เนื่องจากร้านค้าเอกชนและ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงไหมในบางพื้นที่จะแนะน� ำให้ชาวบ้านใช้ไหมพันธุ์ผสม ญี่ปุ่นซึ่งมีเส้นใยสีขาว มีความเหนียวและทอได้เรียบกว่า เช่น ที่บ้านหนองอ้อ อ� ำเภอหนองวัวซอ จังหวัด อุดรธานี ร้านค้าเอกชนส่วนมากจะสั่งซื้อผ้าไหมที่ทอด้วยเส้นไหมพันธุ์ผสม แต่การใช้เส้นไหมพันธุ์ผสม เป็นเหตุให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องซื้อเส้นไหมจากโรงงาน เพราะไหมพันธุ์ผสมเลี้ยงยาก ชาวบ้านมักเลี้ยง ไม่ได้ผลเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับกรรมวิธี ทั้งยังต้องรักษาความสะอาดของห้องที่เลี้ยงไหมเป็นอย่างมาก ๑๑ ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้แนะน� ำราษฎรให้ใช้ไหมพื้นเมืองในการทอผ้า โดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ พยายามประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมือง แนะน� ำ ให้สร้างห้องเลี้ยงไหมแบบประหยัด ในปีหนึ่ง ๆ เลี้ยงได้ ๔-๕ รุ่น เฉลี่ยผลผลิตเป็นเส้นไหมประมาณรุ่นละ กิโลครึ่ง ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ จะรับซื้อผ้าไหมที่ทอด้วยไหมพื้นเมืองเท่านั้น (๓) ส่งเสริมการท� ำงานเป็นกลุ่ม การจัดตั้งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพมีส่วนช่วยส่งเสริมความสามัคคีภายในชุมชน ฝึกให้รู้จักการท� ำงานร่วมกัน โดยจัดตั้งกลุ่มท� ำงานอย่างมีระบบ เป็นการรวมกลุ่มชาวบ้านโดยเฉพาะ ผู้หญิงเพื่อฝึกอาชีพ มีการบริหารและด� ำเนินการโดยกลุ่มของตนเอง เจ้าหน้าที่ของรัฐมีบทบาทเป็น เพียงผู้ประสานงานคอยช่วยเหลือสนับสนุน เช่น เมื่อได้ตัวอย่างลายผ้ามา สมาชิกจะช่วยกันแกะลาย เพื่อที่จะได้เรียนรู้งานใหม่ ๆ หรือการให้สีใหม่ ๆ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพในชุมชนที่ประสบความส� ำเร็จ มักเป็นชุมชนที่มีความสามัคคีหรือสามารถร่วมกันท� ำงานเป็นกลุ่มได้ดี เช่น โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ทอผ้าไหมบ้านท่าเรือ และบ้านโคกสะอาด อ� ำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ๑๐ สัมภาษณ์นายทองพัน สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕. ๑๑ สัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม ณ ต� ำบลหนองอ้อ อ� ำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=