วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 178 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเสด็จไปท่าตอน ๑ เสด็จไปสุปรันตวานิชคาม (ในต� ำนานไทยว่าคือปราณบุรี) เสด็จไปยัง เมืองธันยวดี และเสด็จไปในอีกหลายที่โดยทางอากาศ เรื่องราวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นยังเกี่ยวพันกับพระราชาที่เป็นทั้งตัวเอกและตัวประกอบ ในเรื่องเล่า สุดแท้แต่เนื้อหาของเรื่อง พระราชาเหล่านี้ได้ “น้อมรับ” “อุปถัมภ์” และขยายพระราชศรัทธา ออกไปได้อย่างกว้างขวาง ทว่าเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ อ� ำนาจในการเผยแผ่นั้นมักจะถูกลดทอนหรือ แม้กระทั่งถูกท� ำลาย บทบาทของพระราชาในด้านพุทธศาสนาจึงมักไม่ยืนยาว พระราชาที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธองค์อย่างมากก็คือ พระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา มีเรื่อง เล่าที่เกี่ยวกับพระราชาองค์นี้มากมายในฐานะที่ทรงมีความศรัทธาในพระพุทธองค์อย่างแรงกล้า อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงอุปถัมภ์พระพุทธองค์และคณะสงฆ์ ทรงมีความมั่นคง ในพระรัตนตรัยและมีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง หลายครั้งที่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา ถูกลัทธิตรงข้ามผู้ไม่ปรารถนาดีใส่ร้ายป้ายสีให้มัวหมองเสื่อมเสีย พระองค์จะทรงเอาพระทัยใส่ช่วยขจัดปัด เป่าให้หมดไป ดังกรณีที่พวกนิครนถ์ได้ฆ่านางสุนทรีสาวิกาของตนเองและน� ำศพไปทิ้งไว้ใกล้พระเชตวัน จากนั้นปล่อยข่าวว่าสาวิกาของพวกตนถูกสาวกของพระพุทธเจ้าฆ่าตาย พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่เชื่อกลับ รับสั่งให้สอบสวนจนถึงต้นตอจึงได้ความจริงผู้ที่ฆ่านางก็คือพวกนิครนถ์นั่นเอง นอกจากนั้น ค� ำท� ำนาย ๑๖ ข้อ ที่พระพุทธองค์ทรงประทานแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังเป็นที่จดจ� ำและเล่าขานสืบต่อมา จนทุกวันนี้ หลังพุทธกาล พระราชาที่มีบทบาทมากที่สุดคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้แผ่ขยายพระพุทธศาสนา ออกไปในทิศทางต่าง ๆ  ท่านเสวยราชย์รวมทั้งสิ้น ๓๗ ปี (พ.ศ. ๒๑๘-๒๖๐) แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้า อโศกแล้ว ราชวงศ์โมริยะก็ค่อยเสื่อมลง พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อ ๆ มาไม่สามารถจะรักษาอ� ำนาจไว้ได้ พระสงฆ์และชาวพุทธถูกก� ำจัดโดยพระราชาที่นับถือศาสนาอื่น นอกจากพระเจ้าอโศกแล้ว พระราชาที่มี บทบาทในประวัติพุทธศาสนาเห็นจะได้แก่ พระเจ้ามิลินท์ (Menander ๑๖๐-๑๓๕ ปีก่อนคริสต์ศักราช) แห่งเมืองสาคละผู้ซึ่งหลังจากโต้วาทะกับพระนาคเสนแล้วท่านได้กลับใจมานับถือพุทธศาสนา เรื่อง ของท่านได้ถูกร้อยเรียงเป็นวรรณกรรมที่เรียกว่า “มิลินทปัญหา” เป็นภาษาต่าง ๆ ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ ตราบจนทุกวันนี้ พระภิกษุผู้เล่าเรื่อง เรื่องราวเกี่ยวกับพระภิกษุมีบอกเล่ากันมากมาย ได้แก่ พระภิกษุผู้แก้ต่างให้พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระนาคเสนผู้โต้วาทะกับพระเจ้ามิลินท์ พระเถระแห่งศรีลังกาชื่อพระมิเคตตุวัตเต ศรี คุณานันทะ ๑ ตะโก้ง, ท่ากวง, ย่างกุ้ง/ร่างกุ้ง, สังกิสสะนคร เป็นเมืองทางเหนือของพม่าอยู่ในมณฑลเชียงเมียน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=