วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

177 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ผลการวิเคราะห์ ๑. แหล่งสาร (Source) และผู้ส่งสาร (Communicator) พระพุทธองค์คือ “แหล่งสาร” หรือทรงเป็น “ที่มาของเรื่องเล่า” ทรงเป็นต้นกระแสธารของ พระพุทธศาสนาทั้งหมด คุณลักษณะของพระองค์ในฐานะเป็นแหล่งสารนั้นนอกจากความเป็นผู้ตรัสรู้ โดยพระองค์เองและทรงประกาศพุทธศาสนาอันเป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไปแล้ว ยังทรงมีความพิเศษ คือ ทรงเป็นผู้ประเสริฐเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากทรงสร้างบารมีมายาวนานถึง ๔ อสงไขยแสนมหากัป เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และในวันประสูติ ทรงประกาศสถานะในเบื้องหน้าของพระองค์เอง โดยเสด็จด� ำเนินไปถึง ๗ ก้าว และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นพี่ใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี” นั่นคือการประกาศความ ยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์ทั้งปวง อีกทั้งทรงมีลักษณะพิเศษด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ หลังจากเสด็จ ออกผนวชตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ปรากฏพุทธาภินิหารมากมาย การตรัสรู้ ณ ริมฝั่งแม่น�้ ำเนรัญชรา เป็นสัญลักษณ์ว่าทรงเป็นผู้ชนะมาร ฉากแห่งการต่อสู้ระหว่าง พระกับมารซึ่งจบลงด้วยการชนะมารถูกเล่าขานสืบต่อกันมาในรูปของตัวอักษร จิตรกรรม ภาพวาด สถาปัตยกรรม บทสวด คาถา ค� ำร้อง เป็นอันมาก ฉากนี้ถือว่าส� ำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนาเพราะเป็น วันที่บังเกิดพระพุทธศาสนาในโลก หลังการตรัสรู้ทรงหมุนธรรมจักรประกาศพระศาสนาด้วยการทรงแสดง ธรรม "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" โปรดปัญจวัคคีย์อันมี โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ซึ่งกลายมาเป็นบทสวดของคณะสงฆ์สืบต่อมาจนปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทรงมีกฤษฎาภินิหารที่บอกเล่าสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ทรงเป็นผู้เหนือมนุษย์และ เทวดาตลอดทั้งอินทร์พรหมยมยักษ์ ดังพุทธประวัติที่กล่าวถึงเรื่องราวครั้งเสด็จขึ้นไปแสดงธรรมที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ ๗ เทศนาโปรดพุทธมารดาซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจ� ำนวนหลายแสนโกฏิมาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตร เป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เหล่าเทวดาและพรหมตลอด ๓ เดือนเต็ม ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ในวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือน ๘ ยมก ปาฏิหาริย์ครั้งนั้นถูกเล่าขานเป็นต� ำนานมาอย่างยาวนาน ถูกบันทึกไว้เป็นรูปภาพก็มี ที่ถูกสลักไว้บนแผ่นหิน ก็มี เป็นหลักฐานที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งปวง กล่าวได้ว่า มหาชน ร� ำลึกถึงพระองค์ในสถานะที่เหนือโลก เป็นผู้ที่สามารถเสด็จด� ำเนินไปได้ทั้งทางบก ทางน�้ ำ และอากาศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=