วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

เรื่ องเล่า : กลไกการสื่ อสารพระพุทธศาสนา 176 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ต่อเนื่องผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ ข้ามพรมแดนทางภูมิศาสตร์ไปถึงผู้รับสารทุกชั้นวรรณะ เรื่องเล่านี้แม้ถูกกระท� ำ ด้วยวิธีต่าง  ๆ  ก็ยังเดินทาง (ขับเคลื่อน) ต่อไปได้โดยอาศัยพลังงานคือความศรัทธาของประชาชนผู้ดูแล รักษาและเติมน�้ ำมันหล่อเลี้ยงประกอบกับความดึงดูดใจของเรื่องเล่าเอง ในกระบวนการสื่อสารนี้ เรื่องเล่า มีทั้งการเกิด การคงอยู่ การถูกกระท� ำ ความตาย และการเกิดใหม่ แต่บทบาทส� ำคัญของเรื่องเล่า คือการ ท� ำให้กระบวนการสื่อสารนี้ด� ำเนินต่อได้อย่างยืดยาวในประวัติศาสตร์ เพราะเหตุมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเกิดเรื่องเล่า เกิดสื่อศาสนา และเกิดพุทธบริษัท ทั้ง ๔ องค์ประกอบนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อดีตย่อมเป็นบทเรียนของปัจจุบัน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้จึงมุ่งไปสู่การร่วมมือร่วมใจของ ทุกฝ่ายในการรักษากลไกการสื่อสารพระพุทธศาสนาแห่งช่วงเวลานี้ให้เคลื่อนไปอย่างราบรื่น ทั้งในระดับ ผู้ส่งสาร สื่อ สาร และผู้รับสาร ดูแลเรื่องเล่าในฐานะกลไกการขับเคลื่อนกระบวนการสื่อสาร ฟูมฟักให้เกิด อณูข่าวสารในอากาศ ล่องลอย และหมุนเวียน จนได้เข้าไปปลูกฝัง กล่อมเกลาจิตวิญญาณของชาวพุทธ ให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และรักษาระดับการยืนหยัดอย่างโดดเด่นอยู่ในสังคมนี้อย่างสอดคล้องกับยุคสมัย สอดคล้องกับระบบการสื่อสาร และสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เดินทางข้ามพรมแดนของอินเดียไปในทิศทางต่าง ๆ  การที่พระพุทธศาสนา จะเข้าสู่การรับรู้ของประชาชน ย่อมอาศัยพุทธธรรมคือตัวธรรมะล้วน ๆ  และเรื่องประกอบที่ถ่ายทอดและ เล่าขานต่อ ๆ  กันมาเป็นหลัก ซึ่งในที่นี้จะเรียกรวมกันว่า เรื่องเล่า ซึ่งตั้งอยู่ในกระบวนการที่ประกอบด้วย แหล่งสาร ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร ตามทฤษฎีการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) องค์ประกอบเหล่านี้ขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาไปได้อย่างไร โดยอาศัยตัวจักรหลักคือเรื่องเล่า ค� ำถามคือ เรื่องเล่ามีบทบาทอย่างไรในกระบวนการสื่อสารพระพุทธศาสนาและเรื่องเล่าเป็นกลไกขับเคลื่อนพระพุทธ ศาสนาอย่างไร ทั้งนี้ ค� ำว่า เรื่องเล่า ในด้านหนึ่งหมายถึง พุทธธรรม ในอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นนิยามหลักของ งานวิจัยนี้ หมายถึง ตัวสารที่เกี่ยวอยู่กับพุทธธรรมแต่ไม่ใช่ตัวพุทธธรรม ได้แก่ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา นิทาน ต� ำนาน เรื่องเล่าลือต่อ ๆ กันมา ซึ่งอาจจริงก็ได้หรือไม่จริงก็ได้ ทั้งยังมีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเกี่ยวพันถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องเล่าประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในที่หลายแห่ง ทั้งพระไตรปิฎก คัมภีร์โบราณ วรรณกรรม บทขับร้อง ค� ำสวด คาถา สื่อจารีต สถาปัตยกรรม ฯลฯ และ เดินทางคู่ขนานมากับกระบวนการสื่อสาร ข้ามเวลาและสถานที่ ส่วนค� ำว่า กลไก หมายถึงตัวจักรที่ช่วย ผลักดันพุทธศาสนาให้เคลื่อนที่ผ่านกาลเวลา (จากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง) และสถานที่ (จากประเทศหนึ่งไป สู่อีกประเทศหนึ่ง) วิธีการเลือกเรื่องเล่าในงานชิ้นนี้ พิจารณาจากตัวเรื่องที่สามารถโยงเข้ากับกระบวนการ สื่อสาร S (Source) M (Message) C (Channel) R (Receiver) ได้ คือสะท้อนความเป็นผู้ส่งสาร ลักษณะ ของสารที่เป็นเรื่องเล่าส่งผ่านสื่อ และบทบาทของผู้รับสารที่ส่งทอดเรื่องเล่าไปสู่คนรุ่นหลัง เพื่อสะท้อน ความเป็นกลไกของเรื่องเล่าที่เดินทางผ่านเวลาและสถานที่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=