วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เรื่องเล่า : กลไกการสื่อสารพระพุทธศาสนา ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุกัญญา สุดบรรทัด ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ ค� ำว่า เรื่องเล่า หมายถึง ตัวสารที่เกี่ยวอยู่กับพุทธธรรมแต่ไม่ใช่ตัวพุทธธรรม ส่วนค� ำว่า กลไก หมายถึง ตัวจักรที่ช่วยผลักดันพระพุทธศาสนาให้เคลื่อนที่ผ่านกาลเวลาและสถานที่ ค� ำถามคือเรื่องเล่า มีบทบาทอย่างไรในกระบวนการสื่อสารพระพุทธศาสนาและเรื่องเล่าเป็นกลไกขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา อย่างไร ผลการวิเคราะห์พบว่า ในกระบวนการสื่อสารพระพุทธศาสนาซึ่งประกอบด้วยผู้ส่งสาร ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสารนั้น ผู้ส่งสารพระองค์แรกคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจุดคบเพลิงขึ้นด้วยการ ตรัสรู้ธรรมของพระองค์ แล้วพระภิกษุ พระราชา ฆราวาสอื่น ๆ น� ำไปกล่าวขานเล่าต่อ สาร (Message) คือเรื่องเล่าปรากฏอยู่ในที่หลายแห่ง ทั้งพระไตรปิฎก คัมภีร์โบราณ วรรณกรรม บทขับร้อง ค� ำสวด คาถา สื่อจารีต ภาพวาด ภาพแกะสลัก สถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะ อาจจริงก็ได้หรือไม่จริงก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว “ความจริง” อาจไม่ส� ำคัญเท่าการควรค่าแก่ความจดจ� ำ เพราะความศักดิ์สิทธิ์ เรื่องเล่ามีจุดจับใจในตัวเอง ได้แก่ ความเหนือโลกซึ่งสนองปุถุชนวิสัย (human interest) ความลึกลับ การต่อสู้ระหว่างพระกับมาร พัฒนาการและการท� ำลายล้าง และชัยชนะเรื่องราวเหล่านี้ “ล่องลอย” (floating) หมุนเวียนไปตามกระแสธารแห่งเวลาข้ามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ถูกขับเคลื่อนเข้าสู่ การรับรู้ของผู้คนโดยอาศัยสื่อแห่งยุคสมัย ที่ใดก็ตามที่มีผู้รับฟังเรื่องเล่าด้วยศรัทธา ที่นั้นก็จะมีการสร้าง พยานหลักฐานไว้ ในขณะเดียวกันมันก็เข้าไปฝังอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีและจิตวิญญาณของมนุษย์ เรื่องเล่าเป็นกลไกขับเคลื่อนพุทธศาสนาด้วยการเข้าไปเติมเต็ม แผ่ขยาย ในที่ที่มีพระพุทธ ศาสนาอยู่เดิม ถ้าเข้าไปในดินแดนใหม่ที่ปราศจากพระพุทธศาสนามันก็จะเข้าไปบอกกล่าวและเริ่มต้น จุดวิวัฒน์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้เรื่องเล่านั้นคงอยู่จนชั่วลูกชั่วหลาน เรื่องเล่าจึงเป็นเหมือนเครื่องจักร ที่ผลักดันพระพุทธศาสนาให้เดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้รับสารเป็นเสมือนผู้รักษาคบเพลิงและเติม น�้ ำมันหล่อเลี้ยงกลไกเพื่อให้เดินทางต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งเมื่อได้รับการส่งเสริมโดยพระราชาหรือ ผู้ปกครองแล้ว ก็ยิ่งเปล่งแสงสว่างโชติในดินแดนนั้น เป็นศาสนากระแสหลักของแผ่นดิน แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เครื่องจักรหยุดลงเพราะเหตุของการถูกท� ำลายด้วยวิธีการต่าง ๆ พระพุทธศาสนาก็อาจจะสูญสิ้นไป ในดินแดนนั้น แต่หากยังพอมีประชาชนประกอบพิธีกรรมด้วยศรัทธา พระพุทธศาสนาก็ยังอาจขับเคลื่อน ต่อไปได้ในฐานะกระแสรองรอวันที่จะกลับคืนมาใหม่ ในกระบวนการสื่อสารพระพุทธศาสนา เรื่องเล่ามีบทบาทส� ำคัญสอดประสานกับองค์ประกอบ การสื่อสารอื่น เริ่มตั้งแต่เรื่องเล่าถูกสร้างโดยแหล่งสารที่ถูกส่งต่อมาตั้งแต่อดีตและยังเดินทางอย่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=